โป๊ะเช๊ะ ดอท คอม

รู้จักกับหิด(Scabies)ในไทย..อาการ สาเหตุ และการรักษาโรค

โรคหิด (Scabies) เป็นโรคผิวหนังอักเสบที่เกิดจาก “ตัวหิด” (Scabies mite) ซึ่งเป็นสัตว์ขาปล้องประเภทไรชนิดหนึ่งที่เป็นปรสิต (Parasite) และต้องอาศัยอยู่บนร่างกายของคน โดยดำรงชีวิตอยู่บนผิวหนังของคนและกินเซลล์ผิวหนังเป็นอาหาร และเป็นตัวก่อโรค โดยผู้ป่วยจะมีอาการหลักสำคัญ คือ คันและมีผื่นตามผิวหนัง โรคนี้สามารถติดต่อได้โดยการอยู่ใกล้ชิดและสัมผัสผิวหนังของผู้ที่เป็นหิด ซึ่งรวมถึงการมีเพศสัมพันธ์

โรคหิดพบได้ทั่วโลก ทุกเชื้อชาติ และเป็นโรคติดเชื้อปรสิตที่พบได้บ่อยในคนทุกวัย มักพบเป็นพร้อมกันหลายคนในบ้านเดียวกัน โดยมีความยากจน ความสกปรก และการอยู่อาศัยกันอย่างแออัดเป็นปัจจัยสำคัญของการระบาดของโรคนี้ ทำให้ในบางครั้งอาจพบการระบาดได้ตามวัด โรงเรียน โรงงาน หรือในกองทหาร (พบผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ได้ประมาณ 300 ล้านคนต่อปี ส่วนใหญ่มักพบในประเทศด้อยพัฒนาหรือกำลังพัฒนา อย่างเช่นในบางหมู่บ้านของประเทศอินเดียจะพบคนที่เป็นโรคหิดเกือบ 100%)

สาเหตุของโรคหิด

เกิดจากตัวหิด (Scabies mite) ซึ่งเป็นสัตว์ขาปล้องประเภทไรชนิดหนึ่งที่มีชื่อในทางวิทยาศาสตร์ว่า ซาร์คอบติส สเคบิอาย (Sarcoptes scabiei) และจัดเป็นปรสิต (Parasite) ที่ต้องอาศัยอยู่บนร่างกายของคน โดยดำรงชีวิตอยู่บนผิวหนังของคนและกินเซลล์ผิวหนังเป็นอาหาร สามารถมีชีวิตอยู่ภายนอกร่างกายของคนที่อุณหภูมิห้องได้ประมาณ 2-3 วัน และสามารถติดต่อได้ง่าย โดยการสัมผัสหรือใช้สิ่งของร่วมกัน แม้กระทั่งฝาโถส้วมก็สามารถติดต่อได้ ในบางรายอาจติดต่อจากการมีเพศสัมพันธ์ ทำให้เกิดตุ่มคันบริเวณอวัยวะเพศ จึงถือเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อีกชนิดหนึ่ง

วงจรชีวิตของตัวหิด คือ เมื่อเราได้รับหิดตัวเมียที่มีไข่อยู่ในตัวมาจากผู้อื่นแล้ว หิดก็จะคลานหาที่เหมาะสมแล้วขุดเจาะผิวหนังจนเป็นโพรง (Burrow) แล้ววางไข่ในโพรงนี้วันละ 1-3 ฟอง หิดตัวเมียนี้จะขุดผิวหนังต่อไปเรื่อย ๆ วันละ 2-3 มิลลิเมตร จนกลายเป็นโพรงคดเคี้ยวคล้ายงูเลื้อย (Serpentine burrow) และหิดตัวเมียจะวางไข่ไปได้เรื่อย ๆ ตลอดอายุของมัน ซึ่งยาวนานประมาณ 1-2 เดือน (หิดจะขุดเฉพาะผิวหนังชั้นบนสุดเท่านั้น (ชั้น Stratum corneum) จะไม่ขุดผิวหนังชั้นลึกไปกว่านี้)

ไข่ของหิดมีขนาดประมาณ 0.1-0.15 มิลลิเมตร และจะใช้เวลาในการฟักตัวประมาณ 2-3 วัน เมื่อตัวอ่อนฟักออกมาแล้วก็จะคลานออกจากโพรงมาอยู่บนผิวหนัง และหาที่เหมาะสมใหม่ แล้วขุดเป็นรูเล็ก ๆ สั้น ๆ ใต้ผิวหนังชั้นบนสุดเรียกว่า Molting pouch ซึ่งรูนี้จะไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า แตกต่างจากโพรง (Burrow) ที่อาจมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า

ตัวอ่อนของหิดจะมี 6 ขา ส่วนตัวแก่เมื่อลอกคราบจนโตเต็มวัยแล้วจะมี 8 ขา สีน้ำตาล มีขนาดเล็กมากมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ซึ่งจะมีทั้งตัวผู้และตัวเมีย โดยหิดตัวผู้จะมีขนาดประมาณ 0.25-0.35 มิลลิเมตร ส่วนหิดตัวเมียจะมีขนาด 0.30-45 มิลลิเมตร หิดตัวผู้จะคลานออกจากรูและคลานเข้าไปหารูที่ตัวเมียอยู่ เมื่อทำการผสมพันธุ์เสร็จแล้วหิดตัวผู้ก็จะตาย ส่วนตัวเมียก็จะออกจากรูเดิมและเดินบริเวณอื่นของผิวหนังที่เหมาะสม แล้วเจาะโพรงเพื่อเตรียมวางไข่ไปตลอดชีวิตที่เหลือของมัน ซึ่งเป็นการเริ่มต้นวงจรชีวิตของมันใหม่ต่อไป

โรคหิดมีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท ดังนี้

อาการของโรคหิด

ผู้ที่ติดหิดครั้งแรกจะแสดงอาการเมื่อได้รับหิดมาแล้วประมาณ 1 เดือน (อาจเร็วหรือช้ากว่านี้ตั้งแต่ 2-6 สัปดาห์) แต่ในช่วงระยะเวลาที่ยังไม่แสดงอาการออกมาก็ยังสามารถแพร่ตัวหิดให้ผู้อื่นได้อยู่ โดยอาการคันที่เกิดจากหิดนั้นเกิดจากปฏิกิริยาของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายที่ไวต่อตัวหิด ไข่หิด และมูลของหิด (Scybala) ซึ่งเรียกปฏิกิริยานี้ว่า Delayed-type IV hypersensitivity โดยร่างกายจะส่งเม็ดเลือดขาวชนิดต่าง ๆ ออกมา และมีการหลั่งสารเคมีต่าง ๆ เพื่อพยายามกำจัดหิด แต่สารเคมีเหล่านี้นี่เองกลับทำให้เกิดอาการขึ้นมา ส่วนในผู้ป่วยที่ติดหิดซ้ำในครั้งหลัง ๆ อาการคันจะเกิดเร็วขึ้นภายในไม่กี่วันหรือไม่กี่ชั่วโมง เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายได้มีการจดจำปฏิกิริยาที่มีต่อตัวหิดไว้แล้ว

  1. โรคหิดต้นแบบ (Classic scabies) : สำหรับอาการที่แสดงในโรคหิดต้นแบบนั้น จะพบลักษณะผื่นเป็นตุ่มแดง ตุ่มน้ำใส ตุ่มหนอง หรือผื่นที่เกิดจากการเกา (คัน) ในบางรายอาจพบผื่นมีลักษณะเป็นรอยนูนคดเคี้ยวไปมาคล้ายเส้นด้าย ยาวประมาณ 2-3 มิลลิเมตร ซึ่งเกิดจากหิดตัวเมียที่ไชลงไปอาศัยอยู่ในชั้นหนังกำพร้าซึ่งพบได้ไม่บ่อย สำหรับลักษณะของผื่นต่าง ๆ ที่กล่าวมานั้น จะพบขึ้นกระจายไปทั่วตัวโดยเฉพาะตามบริเวณที่ร่างกายอบอุ่น เช่น ง่ามนิ้วมือ นิ้วเท้า ข้อมือ ข้อศอก ข้อเท้า รักแร้ รอบหัวนม รอบสะดือ ท้อง ก้น หัวหน่าว อวัยวะเพศชาย ลูกอัณฑะ ขาหนีบ แต่จะไม่พบหิดที่บริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า ใบหน้า ศีรษะ และลำคอ เพราะชั้นผิวหนังบริเวณนี้จะหนาและมีไขมันมาก ตัวหิดจะขุดผิวหนังได้ยาก ยกเว้นในทารกและเด็กเล็กที่ยังอายุน้อย ๆ ที่จะพบหิดในตำแหน่งเหล่านี้ได้ และลักษณะที่สำคัญที่สุดคือผู้ป่วยมักจะมีอาการคันมาก โดยเฉพาะในตอนกลางคืนจะคันมากเป็นพิเศษ สิ่งที่มักจะตรวจพบร่วมด้วยเสมอจากการตรวจร่างกายผู้ป่วย จึงเป็นรอยข่วนจากอาการคัน ซึ่งเป็นสาเหตุที่นำผู้ป่วยมาพบแพทย์นั่นเอง (ถ้าเกามาก ๆ อาจติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนได้)
    • ในคนปกติจะมีหิดอาศัยอยู่ประมาณ 5-15 ตัว ในบางครั้งอาจทำให้มองเห็นตัวหิดเป็นจุดกลม ๆ ขาว ๆ ได้
    • ในผู้ป่วยบางรายอาจมีตุ่มนูนแข็งสีแดงขนาดใหญ่มากกว่า 0.5 เซนติเมตร ปรากฏตรงผิวหนังตำแหน่งอื่นที่ไม่มีตัวหิดอยู่ โดยอาจมี 2-3 ตุ่มหรือหลาย ๆ ตุ่มขึ้นที่ผิวหนัง โดยเฉพาะที่รักแร้และขาหนีบ ที่เรียกว่า Nodular scabies ซึ่งเป็นปฏิกิริยาของร่างกายที่มีต่อองค์ประกอบสารต่าง ๆ ของหิด
  2. โรคหิดนอร์เวย์ (Norwegian scabies, Crusted scabies) : ในระยะเริ่มแรกผู้ป่วยจะมีหิดเพียงไม่กี่ตัว แต่อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วว่า หิดชนิดนี้มักเกิดในคนที่มีความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันโรค ระบบประสาทและสมอง เป็นอัมพาต ซึ่งผู้ป่วยเหล่านี้มักจะสูญเสียการรับรู้ความรู้สึกทางผิวหนัง จึงอาจไม่แสดงอาการคันให้เห็น ไม่มีรอยข่วนเกาบนผิวหนัง ไม่มีตุ่มนูนแดงหรือตุ่มน้ำใสปรากฏ หรือขยับแขนขาไม่ได้ก็ย่อมเกาไม่ได้ จึงยิ่งทำให้ไม่มีใครสังเกตเห็นว่าเป็นหิด จนกระทั่งเวลาผ่านไปนานเข้าโดยที่ไม่ได้รักษา หิดก็จะเพิ่มจำนวนมากขึ้น โดยอาจมีปริมาณมากถึง 2 ล้านตัวในคน 1 คน และผิวหนังชั้นบนสุดของผู้ป่วยกลุ่มนี้ก็จะมีการหนาตัวและมีสะเก็ดปกคลุม โดยจะเห็นได้ชัดที่บริเวณข้อศอก ข้อเข่า ฝ่ามือ และฝ่าเท้า

ภาวะแทรกซ้อนของโรคหิด

การวินิจฉัยโรคหิด

เมื่อผู้ป่วยมีอาการหรือลักษณะข้างต้นตามที่กล่าวมา ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาที่ถูกต้องต่อไป ซึ่งแพทย์จะวินิจฉัยโรคนี้ด้วยการซักประวัติ อาการ และการดูรอยโรคเป็นสำคัญ ร่วมกับอาจมีการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติมเพื่อแยกโรคอื่น ๆ เช่น ลมพิษ ผื่นผิวหนังอักเสบ การติดเชื้อโลน เป็นต้น (ในผู้ป่วยที่เป็นโรคหิดต้นแบบ แพทย์สามารถวินิจฉัยได้จากอาการคันและการตรวจร่างกายที่พบโพรงของหิด ผื่นที่เป็นตุ่มนูนแดงหรือตุ่มน้ำใสเป็นสำคัญ ส่วนในผู้ป่วยที่เป็นโรคหิดนอร์เวย์ แพทย์จะอาศัยการตรวจร่างกายที่พบโพรงของหิดและลักษณะของผิวหนังตามที่กล่าวมา)

การตรวจทางห้องปฏิบัติการสามารถช่วยยืนยันการวินิจฉัยในผู้ป่วยได้ทั้ง 2 แบบ โดยการหยดน้ำมันพืชลงบนโพรงของหิด แล้วใช้ใบมีดสะอาดขูดผิวหนังบริเวณนั้น (ทำอย่างน้อย 15 ตำแหน่งโพรงของหิด) แล้วนำผิวหนังที่ขูดได้ไปวางบนแผ่นสไลด์ โดยไม่ต้องหยอดน้ำยาใด ๆ และตรวจดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ก็จะพบตัวหิดหรือไข่หิด แต่ถ้าหาโพรงของหิดไม่เจอ อาจใช้ยาปฏิชีวนะชนิดทาชื่อ เตตราไซคลีน (Tetracycline) ทาบนผิวหนังบริเวณที่สงสัยแล้วนำไปส่องตรวจด้วยแสงอัลตราไวโอเลตในช่วงคลื่นความยาวสูง (Wood’s lamp) ก็จะทำให้เห็นโพรงที่เกิดจากหิดได้ง่ายขึ้น หรือจะใช้กล้องส่องขยายที่เรียกว่า Videodermatoscopy ช่วยตรวจหาก็ได้ ส่วนในบางกรณีที่มีปัญหาในการวินิจฉัยก็อาจต้องทำการตัดชิ้นเนื้อผิวหนังเพื่อตรวจทางพยาธิวิทยา

วิธีรักษาโรคหิด

หลักในการรักษาโรคหิด คือ ต้องรักษาผู้ที่เป็นหิดและผู้ที่อยู่ใกล้ชิดทุกคนไปพร้อม ๆ กัน (แม้ว่าจะไม่มีอาการก็ตาม) ร่วมกับการควบคุมกำจัดหิดที่อาจหลงเหลืออยู่ในสิ่งแวดล้อมเพื่อป้องกันการแพร่โรคให้ผู้อื่นและการกลับมาติดหิดซ้ำ โดยการรักษานั้นจะแบ่งเป็นการฆ่าตัวหิด การบรรเทาอาการคัน และการรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน

คำแนะนำ : การใช้ยาทุกชนิดควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ ผู้ป่วยไม่ควรซื้อยามาใช้เองโดยไม่ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

วิธีป้องกันโรคหิด

ข้อควรรู้เกี่ยวกับโรคหิด

เอกสารอ้างอิง
  1. หนังสือตำราการตรวจรักษาโรคทั่วไป 2.  “หิด (Scabies)”.  (นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ).  หน้า 994-996.
  2. หาหมอดอทคอม.  “โรคหิด (Scabies)”.  (พญ.สลิล ศิริอุดมภาส).  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : haamor.com.  [16 พ.ค. 2016].
  3. ภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.  “โรคหิด (Scabies)”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : parasitology.md.chula.ac.th.  [17 พ.ค. 2016].
  4. คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล.  “โรคหิด”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : www.tm.mahidol.ac.th.  [18 พ.ค. 2016].

ภาพประกอบ : healthool.com, www.pcds.org.uk, webmd.com, wikimedia.org (by Doc. RNDr. Josef Reischig, CSc.), www.vectorbase.org, www.tabletsmanual.com, www.ehow.co.uk, cursoenarm.net, www.aocd.org

ขอขอบคุณเว็บไซต์เมดไทย (MedThai)