เกษตร » ทาก..แวมไพร์ตัวจริงแห่งพงไพร

ทาก..แวมไพร์ตัวจริงแห่งพงไพร

12 มกราคม 2018
3649   0

https://goo.gl/CBPj3d

ทาก..แวมไพร์ตัวจริง

ทาก

(Land Leech)

ทากเป็นสัตว์ที่มี สองเพศอยู่ในตัวเดียวกันเรียกว่า กระเทยเช่นเดียวกับไส้เดือน แต่พวกมันก็ต้องผสมพันธุ์ข้ามตัวด้วยการจับคู่เพื่อแลกเปลี่ยนเซลล์สืบพันธุ์..จากนั้นทากจะทําการวางไข่ในปลอกไข่ ซึ่งในปลอกไข่แต่ละอันจะมีตัวอ่อนอยู่ประมาณ 5-11 ตัว

 

@anuchitsuwanarat กำลังพรวนดินปลูกต้นไม้ กลับเจอทากไต่ขึ้นแขน #อีกวิธีปัองกันทาก ♬ เสียงต้นฉบับ – 108kaset.com

กระบวนการดูดเลือดของทากก็เริ่มจาก เมื่อเหยื่อที่มีเลือดอุ่นเดินผ่าน(ไม่ว่าคนหรือสัตว์) ทากก็จะเริ่มส่ายหัวดิก ดิก หาทิศทางของเหยื่อจากการจับความร้อน แรงสั่นสะเทือน และการเคลื่อนที่ของเหยื่อ พอรู้แน่ว่าเหยื่ออยู่ทางไหน ทากก็จะเคลื่อนตัวกระดึ๊บ กระดึ๊บ เข้าไปหาเหยื่ออย่างรวดเร็ว ..

หลายๆคนเมื่อเห็นทากคืบคลานอาจจะงุนงงสงสัยว่าตรงไหนมันส่วนหัวและตรงไหนมันส่วนท้ายหรือหางของทากกันแน่ วิธีสังเกตง่ายๆก็คือ ด้านที่อ้วนกว่านั้นคือส่วนท้าย ส่วนด้านที่เล็กเรียวแล้วชูกระดิกไป-มา นั้นคือส่วนหัวนั่นเอง

ทาก ยังมีหลายคนที่สับสนคิดว่ามันเป็นสัตว์ประเภทเดียวกับ “หอยทาก”(snail) แต่อันที่จริงแล้วเจ้าสัตว์ทั้ง 2 แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง เพราะเจ้าหอยทาก กินพืช เห็ด เป็นอาหาร ส่วนทาก กินเลือดคนและสัตว์เป็นอาหาร!!! และทากเหล่านี้ มักจะอาศัยอยู่ในบริเวณที่มีความชื้นสูงโดยเฉพาะในแถบภูเขาป่าลึก ดิบชื้น ฤดูกาลที่ทากชอบที่สุด จะเป็นหน้าฝน..

ในทางนิเวศวิทยา ทากจัดเป็นสัตว์เผ่าพันธุ์เดียวกับปลิง หากเราใช้กล้องขยายส่องดู จะเห็นทากมีลำตัวเป็นปล้องเล็กๆเรียงกันตามแนวขวาง ซึ่งปล้องนี้แหละที่ทำให้ทากยืดและหดตัวได้อย่างสบายๆ..

ทาก รับรู้ว่าหยื่อของมันอยู่ที่ไหน ได้จากแรงสั่นสะเทือนจากพื้นดิน..เวลาที่เราเดิน เพราะฉะนั้น การชิงเดินเป็นคนแรกๆ อาจจะปลอดภัยกว่าคนที่เดินท้ายๆ ….. เมื่อมันเจอเหยื่อ มันก็จะค่อยๆกระดึ๊บ…กระดึ๊บ เข้ามาอย่างแผ่วเบา รวมทั้งคู้ตัวเตรียมดีดเข้าหาเหยื่อ..

พวกทากตัวเล็กก็เลยง่ายต่อการเข้าถึง มุดเข้าได้ทุกที่โดยที่เราไม่รู้สึกตัวเลย ก่อนที่จะเลือกหาจุดเกาะที่เหมาะสม จากนั้นมันก็ฝังเขี้ยวลงบนผิวหนังแล้วบรรจงดูดเลือดอย่างแผ่วเบา โดยในขณะที่ดูดเลือดมันก็จะปล่อยสารบางชนิด ที่ประหนึ่งดังยาชาออกมา เพื่อไม่ให้เรารู้ตัว ทากได้ปล่อยสารที่สำคัญ 2 ชนิดที่เข้าสู่แผล

1.สารที่มีองค์ประกอบคล้ายกับฮีสตามีน (Histamine)
ที่จะช่วยกระตุ้นหลอดเลือดของเหยื่อให้ขยายตัว

2. สารฮีรูดีน (Hirudin)
มีคุณสมบัติต้านทานการแข็งตัวของเลือด
ซึ่งจะทำให้เลือดของเหยื่อไหลไม่หยุด ถึงแม้ว่าทากจะปล่อยตัวหลุดไปแล้ว

เพราะเลือดที่เป็นอาหารอันโอชะของทากจึงทำให้ ทาก ขยาย ตัวใหญ่ขึ้น ใหญ่ขึ้น จนถึงที่สุดที่ เมื่อทากอิ่มเลือดแล้ว มันก็ผละออกไป โดยทิ้งรอยแผลและเลือดให้ไหลออกมา เป็นของแถม แต่เราไม่ต้องกลัวถ้าเลือดไม่หยุดไหล สักพักเลือดก็จะหยุดเอง(เลือดจะไหลในปริมาณน้อยมาก)ไหลออกมาไม่นาน ประมาณ 30-40 นาที ก่อนที่เลือดจะหยุดไหล เพราะในระหว่างที่ทากกัดได้ปล่อยสารที่ช่วยให้หลอดเลือดขยายตัว และสารที่ทำให้เลือดแข็งตัวช้า..

อุปกรณ์ชิ้นสำคัญ ที่ทากใช้ในการเกาะติดกับลำตัวเหยื่อคือ แว่นดูด(Sucker) ซึ่งมีอยู่ทั้งทางด้านหัวและด้านท้าย แต่มันสามารถดูดเลือดได้จากทางแว่นดูดด้านหน้าแต่เพียงด้านเดียว ส่วนแว่นดูดทางด้านท้ายทำหน้าที่ยึดเกาะอย่างนุ่มนวล โดยที่เราไม่รู้สึกตัวเลย ทากจะเกาะติดไปกับลำตัวหรือขา ด้วยแว่นดูด และค่อยๆรีดตัวเองเข้าไปอยู่ในรูถุงเท้าได้ เนื่องจากลำตัวของ มันเหนียว และ ยืดหยุ่นได้ดีมาก จนเราคาดไม่ถึง

วิธีการกัด และดูดเลือดของทากนั้น มันจะใช้ปากของมันซึ่งอยู่ทางแว่นดูดด้านหน้าเท่านั้น ภายในแว่นดูดด้านหน้าจะมีขากรรไกรที่มีลักษณะ เป็นสามแฉก แต่ละแฉกก็จะมีฟันเล็กๆอยู่มากมาย ขากรรไกรของมันนี่แหละ ที่ทำให้เรามองเห็นแผลจาก การดูดเลือดของมันเป็นสามแฉกเช่นกัน…..

 

เมื่อทากดูดเลือดจนมากพอตัวจะอ้วนและมีสีดํา เมื่ออิ่มแล้ว พวกมันจะปล่อยแว่นดูดออกจากผิวหนังของเหยื่อและคืบคลานหายไป ทิ้งไว้เพียงรอยแผลกับเลือดที่ยังไหลไม่หยุด

วิธีแก้ สำหรับคนที่โดนทากกัด ถ้าเจอตัวเป็นๆกำลังดูดเลือดเราอยู่ก็ให้ใช้ยาหม่องทาตัวหรือเอาไฟจี้ ทากก็เลิกดูดเลือดและหดตัวตกลงไปเอง ..

ทากจะชอบฤดูฝนมากเป็นพิเศษเพราะมันทำให้มีความชุ่มชื้นตลอดเวลา..แต่อาจจะมีอาจบางบริเวณที่มีความชื้นตลอดเวลา ก็จะมีทากเดินกระดึ๊บๆ เต็มไปหมด

△หน้าฝนเฉอะเเฉะต้องระวังทากดูดเลือด(ขอบคุณ traveloka)

เมื้อถึงหน้าแล้ง มันจะไม่ลงไปในน้ํา แต่จะใช้วิธีมุดลงและฝังตัวเองในดิน เพราะใต้ดินมีความชื้นมากกว่านั่นเอง ในช่วงหน้าแล้ง ระยะเวลานี้  สําหรับทากที่ฟักออกจากไข่แล้วไม่สามารถหาเลือดเป็นอาหารได้ก็จะตายไปในที่สุด ..ส่วนทากตัวโตพวกมันจะอยู่นิ่งๆและเริ่มเข้าสู่ภาวะจําศีล ใช้พลังงานจากเลือดที่สะสมไวไม่มีการตอบสนองใดๆ อาจกินเวลาถึง 6 เดือน เพื่อรอให้ฤดูฝนมาเยือนอีกครั้ง..

..ทากไม่ชอบ

-ยาฆ่าหญ้า
-ความร้อน

-ขมิ้น
-ใบฝรั่ง
-กระชาย
-ปูนขาว
-เส้นยาสูบ
-น้ำมันเบนซิน
-น้ำส้มสายชู
-แอลกอฮอล์

 

ขอบคุณ https://oknation.nationtv.tv/blog/reaw12/2007/04/30/entry-1
https://nstda.or.th/rural/public/100%20articles-stkc/19.pdf
https://www.google.co.th/search?newwindow=1&safe=active&client..
https://www.viriyah.co.th/th/content/article.php?page=47