เงินๆงานๆ-อาชีพ » คลิปเพิ่มอาชีพ…มาเลี้ยง ผำ กันไหม?..มีประโยชน์สูง

คลิปเพิ่มอาชีพ…มาเลี้ยง ผำ กันไหม?..มีประโยชน์สูง

1 สิงหาคม 2018
2583   0

http://bit.ly/2vqNZtj

http://bit.ly/2Ax52Qc

 

“ผำ” มีชื่อสามัญคือ Wolffia, Water meal เป็นพืชน้ำ และพืชดอกขนาดเล็กที่สุดในโลก รูปร่างทรงรี มีขนาดตั้งแต่ 1-2 มิลลิเมตร อาจเกิดเดี่ยว หรือ ติดเป็นคู่ เมื่อสัมผัสจะรู้สึกเป็นเม็ดเล็ก ๆ ลอยเป็นแพอยู่บริเวณผิวน้ำ ไม่มีราก โดยใบ และลำต้นรวมกันลักษณะคล้ายเฟิร์น มีรูปร่างค่อนข้างกลมหรือยาวรี สีเขียวเป็นมันมีขนาดเส้นศูนย์กลาง 0.5-1.5 มิลลิเมตร

ชอบขึ้นในที่อากาศร้อนและแสงแดดมาก พบได้ในแหล่งน้ำธรรมชาติที่ใส นิ่ง ปัจจุบันมีการเลี้ยงในบ่อที่มีน้ำใส สะอาด โดยสปีชีส์ที่ศึกษานี้คือ Wolffia arrhiza (L.) วงศ์ Lemnaceae วงศ์ Lemnaceae

“ผำ” หรือเรียกว่า ไข่แหน (Fresh water Alga , Swapm Algae) รู้จักกันในชื่อ ไข่น้ำ , ไข่ขำ , และ ผำ มีชื่อพื้นเมืองทางภาคเหนือเรียกว่า ผำ ทางภาคกลางเรียกว่า ไข่น้ำ ส่วนภาคอีสานเรียกว่า ไข่ผำ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า วอลฟ์เฟีย กลอโบซ่า (Wolffia globosa Hartog & Plas) จัดอยู่ในวงศ์เล็มนาซีอี้ (LEMNACEAE)

 

“ผำ” เป็นอาหารพื้นถิ่นในแถบประเทศพม่า ลาว ภาคเหนือ และภาคอีสานของไทย ชื่อเรียกจะต่างกันบ้างในภาษาท้องถิ่น เช่น ภาคเหนือ จะเรียก ผำ, ไข่ผำ หรือ ไข่แหน ภาคกลาง เรียก ไข่น้ำ

เมนูอาหาร นิยมทำ “คั่วผำ” โดยนำผำสดล้างสะอาดมาปรุงด้วยตะไคร้ พริก กระเทียม หอม ใบมะกรูด ได้รสอร่อย หรือทำ ผัดไข่ผำใส่หมู แกงไข่ผำฯ

 

..ล่าสุด มีการพัฒนา “ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากผำ” เป็นผลงานศึกษาของ นายพิพัฒน์พงษ์ วงศ์ใหญ่ นางสาวศศิธร ชาววัลจันทึก และ ผศ.ดร.สุนีย์ จันทร์สกาว คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่ง นางสาวศศิธร กล่าวว่า ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทโปรตีน ได้รับความสนใจในฐานะผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ จึงมีความสนใจแสวงหาแหล่งโปรตีนจากพืชพื้นบ้านไทย พบว่า มีพืชน้ำที่ชาวบ้านนำมารับประทานเป็นอาหารอยู่แล้วคือ “ผำ” ซึ่งมีสารอาหารประเภทโปรตีน และกรดอะมิโนจำเป็นปริมาณสูง จึงนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในรูปแบบ “ยาเม็ดเคี้ยว” เพื่อให้สะดวก รับประทานง่าย เหมาะสำหรับผู้ใช้ชีวิตเร่งรีบ โดยเฉพาะนักศึกษา และวัยทำงาน ที่มีเวลาน้อย อีกทั้ง เป็นการเพิ่มทางเลือกดูแลสุขภาพ ด้วยผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในราคาเหมาะสม

เมื่อนำผำมาวิเคราะห์ปริมาณสารอาหาร พบว่า มีโปรตีน 20% นอกจากนี้ ยังมีคลอโรฟิลล์ โครงสร้างมีลักษณะเป็น Cyclic Tetrapyrolle คล้ายคลึงกับฮีม (Heme) ที่อยู่ในฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญในเลือด มีรายงานการวิจัยถึงฤทธิ์ เช่น ต้านอนุมูลอิสระ รักษาอาการท้องผูก ต้านการติดเชื้อ ปรับสภาพร่างกายให้เป็นด่างในคนที่มีสภาวะเครียด หรือ ร่างกายมีความเป็นกรดจากอาหาร และรักษาภาวะซีดในคนที่เป็นโรคโลหิตจาง ..

โดยการศึกษาเพื่อพัฒนาตำรับผำ ได้ประเมินคุณภาพเชิงปริมาณโปรตีนรวมของผำ ทั้งก่อน-หลังการตั้งตำรับ และทำการตรวจวิเคราะห์โดย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งการตั้งตำรับเป็นรูปแบบยาเม็ดเคี้ยว ขนาด 500 มิลลิกรัมต่อเม็ด มีสีเขียว กลิ่นคล้ายสาหร่าย ความเป็นกรด-ด่าง (pH) เป็นกลาง ผลการวิเคราะห์ปริมาณโปรตีนเท่ากับ 231.4 มิลลิกรัมต่อหนึ่งเม็ด ผลิตภัณฑ์ผ่านเกณฑ์มาตรฐานการประเมินคุณภาพยาเม็ดเคี้ยว

ธาตุอาหารในผำ
ผำจะมีรสมัน ผำ ๑๐๐ กรัม ให้พลังงานต่อร่างกาย ๘ กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วย..

เส้นใย ๐.๓ กรัม , แคลเซียม ๕๙ มิลลิกรัม ,ฟอสฟอรัส ๒๕ มิลลิกรัม ,เหล็ก ๖.๖ มิลลิกรัม ,วิตามินเอ ๕๓๔๖IU, วิตามินบีหนึ่ง ๐.๐๓ มิลลิกรัม ,วิตามินบีสอง ๐.๐๙ มิลลิกรัม ,ไนอาซิน ๐.๔ มิลลิกรัม ,วิตามินซี ๑๑ มิลลิกรัม

คุณค่าทางโภชนาการของไข่ผำ มีแคลเซียมและเบต้าแคโรทีนสูงมาก แต่ในไข่ผำมีสารพิษต้านฤทธิ์สารอาหาร จึงต้องนำไข่ผำมาทำให้สุกก่อนรับประทานทุกครั้ง

 

ผำมีการขยายพันธุ์ 2 แบบ

1. การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ เนื่องจากไข่แหนเป็นพืชมีดอกขนาดเล็กที่สุด ดอกของไข่แหนจะเจริญเติบโตออกทางช่องข้างบนของต้น ดอกไม่มีกลีบดอก และไม่มีกลีบเลี้ยง ดอกตัวผู้จะมีเกสรตัวผู้ 1 อัน ประกอบด้วยอับละอองเรณู 2 อับ ดอกตัวเมียมีรังไข่ที่มี 1 ช่องและมีไข่อยู่ 1 ใบ ก้านเกสรตัวเมียสั้นยอดเกสรตัวเมียมีลักษณะแบน เมล็ดมีขนาดเล็ก กลมเกลี้ยง ยังไม่ปรากฏว่าไข่แหนมีดอกในประเทศไทย มีแต่รายงานการพบเห็นในประเทศอื่น ไข่แหนจะมีดอกและเมล็ดในราวๆเดือนมิถุนายนถึงตุลาคม

2. การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ โดยการแตกหน่อ ซึ่งมีผู้ทำการศึกษา การเจริญเติบโตแล้วพบว่า โดยเฉลี่ย ไข่แหนแต่ละต้นจะแตกหน่อให้ต้นใหม่ทุกๆ 5 วัน

 

การเพาะเลี้ยงไข่น้ำ(ผำ)

ขุดบ่อดินขนาดความลึกประมาณ 1 เมตร กว้าง 1 เมตรและยาวประมาณ 4 เมตร(4ลบ.ม.) นำพลาสติกสีดำรองพื้นในบ่อ เพื่อป้องกันมิให้น้ำซึมออก ใส่ปุ๋ยชีวภาพหรือปุ๋ยคอก 20 กิโลกรัม ตามขนาดของบ่อ เติมจุลินทรีย์ประมาณ 0.5 ลิตร ปล่อยน้ำเข้าบ่อให้เต็ม แล้วนำพันธุ์ไข่น้ำใส่ลงไป ประมาณ 7 วัน จะขยายพันธุ์อย่างรวดเร็ว สามารถเก็บไปจำหน่ายหรือรับประทานได้.

วิธีการเพาะเลี้ยงเชื้อแพร่ขยายพันธุ์ของกรมประมง

วิธีที่ 1 ใช้ปุ๋ยคอกกับรำละเอียด โดยสถานประมงน้ำจืดจังหวัดสกลนครได้ทำการทดลองในบ่อซีเมนต์ขนาด 3X5 เมตร ลึก 80 ซม. เติมดินลงในบ่อหนา 10 ซม. โรยทับด้วยปุ๋ยคอกในอัตรา 1 กก./ม.2 โรยทับด้วยรำละเอียดพอประมาณ รดน้ำให้ชุ่ม ทิ้งตากแดดให้แห้งประมาณ 10-15 วัน เติมน้ำให้ท่วมประมาณ 10 ซม. จากนั้นใส่ไข่น้ำลงไปประมาณ 1 กก. ทิ้งไว้ 15 วัน เติมน้ำอีก 50-60 ระดับน้ำทั้งหมดประมาณ 60-70 ซม. รักษาระดับน้ำไว้ ไข่น้ำเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตลอดปี

วิธีที่ 2 ใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ ใช้บ่อซีเมนต์ขนาด 10 ม.2 เติมดินโคลนก้นบ่อ เติมน้ำ 30 ซม. เติมปุ๋ยคอก 10 กรัม/ม.2 หรือปุ๋ยวิทยาศาสตร์ 10 กรัม/ม.2 (ปุ๋ยยูเรียกับปุ๋ยฟอสเฟต) เติมไข่น้ำ 15-20 กรัม/ม.2 เมื่อปริมาณเพิ่มขึ้นจึงเก็บเกี่ยว ระยะเวลา 2 สัปดาห์ จะให้ผลผลิต 800-1,000 กรัม/ม.2

เรียบเรียงจาก http://alangcity.blogspot.com/2013/01/..
http://www.thaikasetsart.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%..
https://www.google.com/search?q=%E0%B8%9B%E0%B8%..
https://www.ubmthai.com/leksoundsmf3/index.php