สุขภาพ-ชีวิต » การทำสมาธิกับวิทยาศาสตร์

การทำสมาธิกับวิทยาศาสตร์

5 พฤษภาคม 2020
2047   0

เป็นเวลาหลายพันปีมาแล้วที่ผู้คนทำสมาธิเพื่อพัฒนาอารมณ์ จิตใจ และร่างกาย แต่ในมุมมองของวิทยาศาสตร์ทำให้เราสงสัยว่า “จริงๆแล้วการทำสมาธิมีผลอย่างไรกับร่างกายกันแน่?” วันนี้เราจะมาหาคำตอบกันครับ ^^

ปฐมบท

ดูเหมือนว่ากระบวนการทั้งหมดจะเกิดขึ้นที่แรกนั่นคือสมองของเรา โดยระหว่างที่ทำสมาธินั้นเครื่องสแกนสมองแสดงให้เห็นว่าสมองของเรามีการทำงานเพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะบริเวณที่มีหน้าที่ลดความกระวนกระวายใจ ความเครียดส่วนที่เพิ่มความอดทนอดกลั้น และยังพัฒนาส่วนของ Default mode network (วงจรที่ควบคุมการทำงานของสมองตอนที่เราเผชิญกับโลกภายนอก) อีกทั้งยังมีงานวิจัยสนับสนุนว่าการทำสมาธิสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการจดจำได้ดีขึ้นอีกด้วย

เปรียบเทียบ

เมื่อนักวิทยาศาสตร์ทำการเปรียบเทียบสมองของนักบวชในพุทธศาสนา (พระ) กับผู้เริ่มฝึกทำสมาธินั้น พวกเขาพบว่าสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นนั้นมีมากกว่าในนักบวชและคลื่นสมองยังเปลี่ยนไปอีกด้วย โดยการวิจัยพบว่าสมองของนักบวชนั้นมีคลื่นแอลฟา (เกี่ยวข้องกับการลดความรู้สึกต่างๆเช่น ความคิดในแง่ลบ ความโกรธ ความเศร้า) มากกว่าคลื่นชนิดอื่นอย่างเห็นได้ชัด

และถ้านี่ยังไม่พอ การนั่งสมาธิยังสามารถเปลี่ยนรูปร่างและขนาดของสมองได้อีกด้วย จากการศึกษาพบว่าหลังจาก 8 สัปดาห์ของการทำสมาธิสมองส่วนสีเทา (Gray Matter บริสมองที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ ความจำ อารมณ์และกระบวนการต่างๆ) มีความหนาเพิ่มขึ้น และส่วนของ อะมิกดาลา (Amygdala สมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับความกลัว ความเครียด และความดันเลือด) ยังลดการทำงานลงอีกด้วย (ทำให้ไม่กลัว ไม่เครียด และความดันเลือดต่ำลงนั่นเอง)

หากเราเข้าไปดูภายในร่างกาย การนั่งสมาธิไม่ได้ลดแค่ความดันเลือดแต่ยังมีประโยชน์มากมายต่อหัวใจ โดยเพิ่มอัตราการแลกเปลี่ยนออกซิเจนกับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ดีขึ้น เมื่อเราป่วย การศึกษาพบว่าผู้ที่ทำสมาธิเป็นประจำมีจะมีภูมิคุ้มกันร่างกายที่แข็งแรงกว่า และมีประสิทธิภาพในการกำจัดไวรัสออกจากร่างกายมากกว่าผู้ที่ไม่ค่อยนั่งสมาธิเป็นประจำอีกด้วย

มองให้ลึกขึ้นอีก

หากเรามองให้ลึกไปอีกขั้นนึง เรายังสามารถเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงในระดับเซลล์ได้เลยทีเดียว ปกติแล้วโครโมโซมของเรา (มีหน้าที่เก็บหน่วยพันธุกรรม) จะได้รับการปกป้องอันตรายโดยโปรตีนที่ชื่อว่า เทโลเมีย (Telomeres) โดยถ้าส่วนของเทโลเมียหดสั้นลงจะทำให้มีแนวโน้มในการเกิดโรคต่างๆเพิ่มขึ้น เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน และโรคมะเร็ง ซึ่งน่าประหลาดมากเมื่อผู้ที่เป็นโรคมะเร็งนั้นทำสมาธิเป็นประจำจะพบว่าส่วนของเทโลเมียมีความยาวเพิ่มขึ้น

นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่ามันเกิดขึ้นได้เนื่องจากระดับความเครียดลดลง ซึ่งจะมีผลโดยตรงต่อ “เอนไซม์เทโลเมีย” (มีหน้าที่ทำลายเทโลเมียให้สั้นลงแล้วใส่ DNA แทนที่ลงไป) สาเหตุอีกประการหนึ่งนั่นคือผู้ที่ทำสมาธิเป็นประจำนั้นมีแนวโน้มที่จะรักษาสุขภาพมากขึ้นนั่นเอง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการทำสมาธิอย่างเดียวไม่อาจรับประกันว่าจะสามารถรักษาโรคมะเร็งได้อย่างเด็ดขาดนะจ๊ะ 🙂

souce

www.bbc.com
news_raja/index.php
th.m.wikipedia.org
AsapSCIENCE (youtube)