โป๊ะเช๊ะ ดอท คอม

กฎหมายจราจรใหม่ พ.ศ. 2566 หากทำผิดกฎจะโดนอะไรบ้าง?

กฎหมายจราจรใหม่ พ.ศ. 2566 หากทำผิดกฎจะโดนอะไรบ้าง?

สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม กระทรวงคมนาคม ร่างกฎหมายใหม่ได้กำหนดอัตราความเร็วการขับรถยนต์ไว้ ทางเดินรถแบบจัดแบ่งช่องเดินรถในทิศทางเดียวกันไว้ตั้งแต่ 2 ช่องเดินรถ มีเกาะกลางถนนเฉพาะแบบกำแพงกั้นและไม่มีจุดกลับรถเสมอระดับถนน ในทางหลวงแผ่นดิน ทางหลวงชนบท ได้กำหนดให้ใช้ความเร็วไม่เกินตามประเภทของรถ ได้แก่..

กฎหมายความเร็วรถบรรทุก

กฎหมายความเร็วรถยนต์

กฎหมายความเร็วรถจักรยานยนต์ / มอเตอร์ไซค์

กฎหมายความเร็วบนทางด่วน 2566

 

ขอบคุณรูปภาพจาก: การทางพิเศษแห่งประเทศไทย

ละเมิดกฎหมายจราจร มีโทษอะไรบ้าง

คนขับ คนซ้อนไม่ใส่หมวกกันน็อค ปรับเท่าไหร่ 2566

ยกเว้น ภิกษุ สามเณร นักพรต นักบวช หรือผู้นับถือลัทธิศาสนาอื่นที่ใช้ผ้าหรือสิ่งอื่นโพกศีรษะตามประเพณีนิยมนั้น หรือบุคคลใดที่กำหนดในกฎกระทรวง

กรณีขับรถจนทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนและเป็นอันตราย

 

ไม่พกใบขับขี่ ปรับเท่าไหร่ 2566

หากผู้ใดขับรถไม่มีใบขับขี่ จะมีโทษต่าง ๆ ดังนี้..

กรณีประจำรถโดยไม่ได้รับอนุญาต

หากผู้ใดฝ่าฝืนปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ขับรถโดยไม่มีใบอนุญาตต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน

ขับรถเหยียบน้ำกระเด็นใส่ผู้อื่น

ปรับสูงสุด 10,000 บาท โทษจำคุกสูงสุด 3 เดือน

ขับรถเหยียบสุนัข

ผู้ใดขับรถเหยียบสุนัข โดนข้อหาทารุณกรรมสัตว์ มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ขับรถขวางทางรถฉุกเฉินหรือรถพยาบาล

กฎหมายตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก มาตรา 76 : เมื่อเห็นรถฉุกเฉินในขณะปฏิบัติหน้าที่ใช้ไฟสัญญาณแสงวับวาบ หรือได้ยินเสียงสัญญาณไซเรน จะต้องให้รถฉุกเฉินผ่านไปก่อน หากฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 500 บาท ถ้าหากการกระทำนั้นเป็น”เหตุโดยตรง”ที่ทำให้ผู้เจ็บป่วยในรถพยาบาลถึงแก่ชีวิต อาจเข้าข่ายกระทำความผิดโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย หรือกระทำโดยเจตนาเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ซึ่งขึ้นอยู่กับพฤติการณ์ของผู้ขับรถ

กรณีขับรถตามหลังรถฉุกเฉินซึ่งกำลังปฏิบัติหน้าที่ในระยะไม่ถึง 50 เมตรปรับ 1,000 บาท

กฎหมายจราจรอื่น ๆ ที่ควรรู้!

 

ลุ้นรับเงินรางวัล โครงการอาสาตาจราจร

ส่งคลิปกล้องหน้ารถหรือโทรศัพท์มือถือที่บันทึกอุบัติเหตุ และการกระทำผิดกฎจราจร ชิงเงินรางวัลสูงสุด 20,000 บาท โดยจะมีการคัดเลือกคลิปที่ส่งมาทุกเดือน !!

รายละเอียดเงินรางวัล

สถานที่สำหรับส่งข้อมูล

โดนใบสั่งแต่ไม่จ่ายค่าปรับ โดนหมายจับย้อนหลัง 1 ปี

โดยมีขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้..

1. เจ้าพนักงานจราจรออกใบสั่งให้กับผู้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก ปี 2522 ทั้งแบบความผิดซึ่งหน้าและความผิดที่ตรวจจับด้วยกล้องตรวจจับการกระทำความผิด ระยะเวลาเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด

2. กรณีผู้กระทำความผิดไม่มาชำระค่าปรับ เมื่อพ้นระยะเวลาที่กำหนดไว้ในใบสั่งแต่ละประเภท เจ้าพนักงานจราจรจะออกหนังสือแจ้งการไม่ปฏิบัติตามใบสั่ง (ใบเตือน) โดยจัดส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับภายใน 15 วัน นับแต่วันครบกำหนดชำระค่าปรับในใบสั่ง โดยให้ถือว่าเจ้าของ หรือผู้ครอบครองได้รับแจ้งเมื่อพ้นกำหนด 15 วัน นับแต่วันส่ง และต้องชำระค่าปรับภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ซึ่งในขั้นตอนที่ 1. และ 2. ผู้กระทำความผิดสามารถเลือกชำระค่าปรับ ได้ที่สถานีตำรวจ ทุกสถานีทั่วประเทศ, ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคารกรุงไทย, เค้าเตอร์เซอร์วิสที่มีสัญลักษณ์ PTM และทางไปรษณีย์

3. กรณีพ้นระยะเวลาที่กำหนดไว้ในใบเตือน และผู้กระทำความผิดยังไม่มาชำระค่าปรับ นอกจากการส่งข้อมูลไปยังกรมการขนส่งทางบกเพื่อดำเนินการตามมาตรการงดออกเครื่องหมายการเสียภาษีประจำปีแล้ว พนักงานสอบสวนจะออกหมายเรียกผู้ต้องหา เพื่อให้มาชำระค่าปรับ หากไม่มาพบตามหมายเรียกทั้ง 2 ครั้ง พนักงานสอบสวนจะยื่นคำร้องขออนุมัติศาลในเขตพื้นที่ เพื่อออกหมายจับ

4. กรณีถูกออกหมายเรียก หรือหมายจับ ผู้ต้องหาจะถูกแจ้งข้อกล่าวหา ตามข้อหาที่ผู้ต้องหากระทำผิดตามใบสั่ง และความผิดข้อหาตามมาตรา 155 “ผู้ใดไม่ปฏิบัติตาม ม.141 (ชำระค่าปรับในเวลาที่กำหนดในใบสั่ง) โดยไม่มีเหตุอันสมควร ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท ซึ่งในขั้ตอนนี้ผู้ต้องหาต้องเดินทางมาพบพนักงานสอบสวนด้วยตนเอง ณ สถานีตำรวจที่ออกหมายเรียก หรือหมายจับ ไม่สามารถชำระผ่านช่องทางต่างๆ ตามข้อ 2. ได้

5. ผลของการถูกออกหมายจับในคดีอาญา เมื่อถูกออกหมายจับแล้ว จะถูกบันทึกในระบบ ฐานข้อมูลของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถจับกุมตัวบุคคลที่มีหมายจับได้ทั่วราชอาณาจักร โดยใช้เทคโนโลยีในการเชื่อมฐานข้อมูล หากบุคคลที่มีหมายจับเดินทางออกนอกประเทศจะถูกจับ และเกิดความยากลำบากในเรื่องการเดินทาง ถูกบันทึกในทะเบียนประวัติซึ่งอาจส่งผลต่อการประกอบอาชีพการทำงาน กรณีที่หน่วยงานสอบถามประวัติคดีอาญาว่าเป็นบุคคลที่มีหมายจับ เกิดความยากลำบากและความน่าเชื่อถือในการทำนิติกรรม

6. กรณีผู้ต้องหามาพบพนักงานสอบสวนตามหมายจับด้วยตนเอง หรือถูกจับกุม และยินยอมเปรียบเทียบปรับให้คดีอาญาเลิกกัน พนักงานสอบสวนจะยกเลิกหมายจับ และลบประวัติออกจากระบบ

ทั้งนี้ หากประชาชนมีข้อสงสัยว่ามีใบสั่งค้างชำระหรือไม่ สามารถตรวจสอบได้ผ่านช่องทางใบสั่งจราจรออนไลน์สำหรับประชาชน https://ptm.police.go.th/eTicket/#/ . หากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถสอบถามได้ที่ ศูนย์ควบคุมและสั่งการจราจร (บก.02) หมายเลขโทรศัพท์ 1197 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง หรือทาง Facebook และ Twitter 1197

มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป และย้อนหลัง 1 ปี สำหรับใบสั่งที่ยังไม่หมดอายุความ ซึ่งจะหมดอายุความใน 1 ปี มีระบบตรวจสอบโดยเน้นผู้ที่กระทำผิดซ้ำๆ ส่วนใบสั่งที่หมดอายุความเกิน 1 ปีนับย้อนหลังจากนี้ ไม่มีผลแต่อย่างใด.

ขอขอบคุณhttps://www.one2car.com/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0..
https://www.google.com/..B%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%88..

รู้ยัง!!ยกเลิกใบขับขี่แบบกระดาษ ให้ใช้ Smart card แทน