เลี้ยงสัตว์ » คลิปแนะขั้นตอนขึ้นทะเบียนเกษตรกร(สมุดเล่มเขียว) เพื่อสิทธิ และการช่วยเหลือจากภาครัฐ

คลิปแนะขั้นตอนขึ้นทะเบียนเกษตรกร(สมุดเล่มเขียว) เพื่อสิทธิ และการช่วยเหลือจากภาครัฐ

1 กุมภาพันธ์ 2024
207   0

คลิปแนะขั้นตอนขึ้นทะเบียนเกษตรกร(สมุดเล่มเขียว) เพื่อสิทธิ และการช่วยเหลือจากภาครัฐ

1.คนที่ถือเล่มเขียว​ เรียกเต็มๆว่า​ “หัวหน้าครัวเรือนเกษตรกร”
2.หัวหน้าครัวเรือนเกษตรกร​ ไม่จำเป็น​ ต้องเป็นคนเดียวกับ​ “เจ้าบ้าน” ในเล่มทะเบียนบ้าน​ เพราะ​คนที่ถือเล่มเขียวนั้น​ หลักๆ​ ต้องมีคุณสมบัติ​เป็นเกษตรกร​ คือ​ ทำการเกษตรในพื้นที่ที่มีเอกสารสิทธิ์​ หรือ​พื้นที่ไม่มีเอกสาร​สิทธิ์​ หากเจ้าบ้านไม่ได้ทำการเกษตร​ ก็ไม่สามารถแจ้งขึ้นทะเบียนเกษตรกรและมีเล่มเขียวได้ แต่สมาชิกที่เป็นผู้อาศัยในเล่มทะเบียนบ้านทำการเกษตร​จะสามารถแจ้งขึ้นทะเบียนเกษตรกรได้​ โดย..
#นาข้าวและพืชไร่​ ต้องมีพื้นที่​ 1​ ไร่​ ขึ้นไป
#ปลูกไม้ผลไม้ยืนต้น​ ต้องมีพื้นที่​ 1​ ไร่​ ขึ้นไป​ และมีจำนวน​ 15​ ต้น​ ขึ้นไป​ (ทุกชนิดพืช​ ไม่เฉพาะยางพารา​ ปาล์ม​น้ำมัน​ ไม้ผลก็สามารถแจ้งได้)​
#พืชผัก​ 1​ งานขึ้นไป

3.​สมาชิกในครัวเรือนเกษตรกร​ หมายถึง​ คนที่อาศัยอยู่บ้านเดียวกับคนถือเล่มเขียว​ เช่น​ เล่มเขียวชื่อสามี​ แต่​ภรรยามีเอกสารสิท​ธิ์ที่ดินด้วย​ สามารถนำแจ้งเพิ่มแปลงในเล่มเขียวของ​สามีได้​ #สมุดเล่มเขียวจะเป็นรายครัวเรือน​ 1​ บ้าน​ 1​ เล่ม​
#หากคนถือเล่มเขียวเสียชีวิต​ สมาชิกที่อยู่ในเล่มเขียวต้องมาแจ้งที่เกษตรด้วยว่า​ คนนี้เสียชีวิตแล้ว​ และจะให้ใครเป็นคนถือเล่มเขียวแทน​ #หากท่านไม่แจ้งเวลามีโครงการต่างๆ​และท่านเข้าหลัก​เกณฑ์​ที่จะได้รับความช่วยเหลือ​ ท่านจะประสบปัญหาในการโอนเงินซึ่งจะมีอีกหลายขั้นตอนให้ท่านดำเนินการเพื่อรับเงินช่วยเหลือนั้นๆ

4.​สมุดเล่มเขียว​ เสมือน​ #ทะเบียนบ้านด้านการเกษตร หากท่านมีการเปลี่ยนแปลง​กิจกรรมทางการเกษตร ต้องแจ้งทุกครั้ง​ เหมือนทะเบียน​บ้าน​ เช่น​
#ย้ายเข้า​ -​-ปลูกใหม่​ หากปลูกผัก​ อาจต้องแจ้งย้ายเข้าบ่อยหน่อย​ มาเกษตร​หลังปลูกแล้วไม่น้อยกว่า​ 15​ วัน​ และไม่ใช่มาตอนที่เก็บเกี่ยวหมดแล้ว ไม้ผลไม้ยืนต้น​ มาทุกปี​ ไม่ใช่มาช่วงที่มีโครงการช่วยเหลือเพียงอย่างเดียว​ #เพราะข้อมูลของท่านจะถูกนำไปใช้ในการวางแผนเพื่อพัฒนาด้านการเกษตรในมิติต่างๆ​ #เพื่อประโยชน์ส่วนรวมเสียสละเพียงปีละครั้ง
#ย้ายออก​– การโค่น​
#เสียชีวิต–เลิกทำกิจกรรมการเกษตร

5.ในเล่มเขียวจะมีหน้ากิจกรรมด้านการเกษตร​ หลายท่านคงข้องใจ​ ว่าไปปรับปรุงข้อมูลแล้วเมื่อปี 63​ แต่ทำไมหน้านี้จึงแสดงแค่กิจกรรมในปี​ 62​ นั่นเพราะ​ หากท่านปลูกพืชเศรษฐกิจ​ เช่น​ ข้าว​ ยางพารา​ ปาล์ม​น้ำมัน​ กระบวนการในการยืนยันข้อมูลยังไม่เสร็จ​สิ้น​ จึงยังไม่สามารถปริ้นท์ข้อมูลลงเล่มเขียว​ได้ แต่ได้ถูกบันทึกเข้าระบบทะเบียนเกษตรกรแล้ว​ ยกเว้น​ พืชอื่นๆที่ไม่ใช่พืชเศรษฐกิจและพืชผัก​ ข้อมูลสามารถปริ้นท์ออกได้เลย

6.เล่มเขียวไม่ได้รับรองว่าท่านจะได้รับการช่วยเหลือจากภาครัฐในทุกโครงการที่เกี่ยวข้อง​ เพราะ
👉บางท่านถือเล่มเขียวไว้​แล้วไม่เคยมาปรับปรุง​ หากครบ​ 3​ ปี​ติดต่อกัน รายชื่อของท่านจะถูกลบออกจากการเป็นเกษตรกรโดยอัตโนมัติ​ เมื่อไม่เป็นเกษตรกร​ สิทธิ์​ต่างๆ​ ก็จะหมดลง
👉มีเล่มเขียวแล้วจะได้รับการช่วยเหลือในโครงการที่ท่านเข้าหลักเกณฑ์​เงื่อนไขของแต่ละโครงการเท่านั้น​ เช่น​ โครงการช่วยเหลือด้านนาข้าว​ เกษตรกรที่ทำนาจริงๆ​ จะได้รับการช่วยเหลือ
👉หากท่านมาขึ้นทะเบียนเกษตรกรแล้วไม่ได้เล่มเขียวกลับบ้าน​ เช่น​ สมุดเล่มเขียวหมด​ ก็ไม่ต้องกังวล​ เพราะข้อมูลของท่านได้บันทึกในระบบทะเบียนเกษตรเรียบร้อยแล้ว​ ท่านสามารถติดต่อขอรับสมุดรับเขียวได้ในภายหลัง
#เล่มเขียวก็สำคัญแต่ที่สำคัญกว่าคือข้อมูลในระบบทะเบียนเกษตร
#เล่มเขียวท่านต้องปรับปรุงข้อมูลทุกปี 😁😁

ขอขอบคุณhttps://web.facebook.com/NBTsongKhlateam/posts/1363815170481934/
https://www.google.com/..E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%95%E0%B8%A3%..

ความแตกต่างของโฉนดครุฑแดง และ โฉนดเพื่อการเกษตร