โลกโซเชียล » ประวัติของหม่อน ,ประโยชน์หม่อน

ประวัติของหม่อน ,ประโยชน์หม่อน

9 พฤษภาคม 2025
24   0

ประวัติของหม่อน

  • ต้นกำเนิด: หม่อนมีถิ่นกำเนิดในภูมิภาคเอเชีย โดยเฉพาะในจีน อินเดีย และญี่ปุ่น มีการปลูกมาเป็นพันปี

  • ความสำคัญทางวัฒนธรรม: ในประเทศจีน หม่อนถูกใช้เลี้ยงหนอนไหมเพื่อนำมาผลิตผ้าไหม จึงมีบทบาทสำคัญทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรม

  • การแพร่กระจาย: จากเอเชีย หม่อนได้แพร่ไปยังยุโรป อเมริกา และประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก

  • ในประเทศไทย: มีการปลูกหม่อนเพื่อเลี้ยงไหมมายาวนาน ปัจจุบันยังนิยมปลูกเพื่อบริโภคผลสด ใบชา และใช้เป็นสมุนไพร


ประโยชน์ของหม่อน

  1. ใบหม่อน

    • ใช้เลี้ยงหนอนไหม

    • ชงเป็นชา ช่วยลดน้ำตาลในเลือดและลดไขมัน

    • มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง

  2. ผลหม่อน

    • รับประทานสดหรือแปรรูป (แยม น้ำผลไม้ ไวน์)

    • อุดมด้วยวิตามิน C, เหล็ก, และสารต้านอนุมูลอิสระ

    • ช่วยบำรุงเลือด สายตา และระบบภูมิคุ้มกัน

  3. รากและเปลือกต้น

    • ใช้ในแพทย์แผนจีนและสมุนไพรไทย เช่น ลดความดัน บำรุงไต ขับปัสสาวะ

  4. การใช้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ

    • ใช้ในการผลิตผ้าไหม อาหารเสริม และเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ

    • สร้างรายได้ให้เกษตรกรในหลายพื้นที่

—————————————————–
รายละเอียด

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Morus sp.
ชื่อภาษาอังกฤษ : White Mulberry, Mulberry Tree
ชื่อภาษาท้องถิ่น : หม่อน, มอน (อีสาน), ซึมเฮียะ (จีน) อยู่ในวงศ์ Moraceae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เป็นไม้พุ่มขนาดย่อม เปลือกต้นสีน้ำตาลแดง ใบเดี่ยวออกสลับสีเขียวเข้มรูปหัวใจขอบจักฟันเลื่อย ผิวสาก สีเขียวเข้ม เส้นใบตามยาว 3 เส้น ดอกเล็ก ๆ กลม เป็นช่อแท่งกลมเล็ก ๆ ดอกตัวผู้และตัวเมียแยกกัน ดอกย่อยมี 4 กลีบ ออกตามซอกใบที่ปลายกิ่งยาวราว 1 นิ้ว ผลเป็นผลรวมออกเป็นพวงวงกลมเล็กเมื่อสุกมีสีม่วงแดงถึงดำผลกลมเล็ก ๆ เมื่อสุกสีน้ำตาลดำเป็นพวง และยังเป็นพืชอาหารตามธรรมชาติของหนอนไหม

การขยายพันธุ์หม่อน นิยมใช้วิธีการปักชำกิ่งมากที่สุด เพราะสามารถขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว และสามารถให้ต้นหม่อน และใบหม่อนที่สมบูรณ์เต็มที่ได้ กิ่งพันธุ์หม่อนที่ใช้ในการปักชำ ควรเป็นกิ่งแก่ที่มีอายุตั้งแต่ 6 เดือน – 1 ปี ขึ้นไป จนถึง 2 ปี ไม่ควรใช้กิ่งที่มีอายุมากเกินกว่า 2 ปี ลักษณะกิ่งออกสีเขียวปนเทา สีเทาหรือสีน้ำตาลปนเทา

โดยการตัดกิ่งควรตัดความยาวประมาณ 15 – 20 เซนติเมตร โดยให้มีตายอดหรือตาใบติดประมาณ 2 – 3 ตา และควรตัดกิ่งทั้งสองด้านเป็นรูปปากฉลาม การปักชำจะใช้วิธีการปักทั่วไป โดยการเสียบกิ่งลงดินลึกประมาณ 7 – 10 เซนติเมตร โดยให้ตายอดตั้งขึ้นในแนวเอียงประมาณ 40 – 50 องศา ระยะการปักชำในแปลงประมาณ 1.5 – 2 เมตร

หลังจากการปักชำอาจรดน้ำหรือไม่ก็ได้ ทั้งนี้ การปักชำที่ให้ได้ผลดีควรปักชำในช่วงต้นฤดูฝนประมาณเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม เพราะกิ่งจะอาศัยน้ำฝนเติบโตได้เอง

โรค และแมลงสำคัญของหม่อน

ได้แก่ โรครากเน่า โรคใบด่าง เป็นต้น

แมลงศัตรูที่สำคัญ แมลงประเภทปากดูด เช่น แมลงหวี่ขาว เพลี้ยชนิดต่างๆ ไรแดง เป็นต้น ซึ่งแมลงเหล่านี้ชอบดูดกินน้ำเลี้ยงจากลำต้น ใบ และยอดอ่อนทำให้หม่อนหยุดการเจริญเติบโต หรือเติบโตช้า จนถึงใบหงิกงอ แห้งตาย และแมลงศัตรูประเภทปากกัด เช่น แมลงค่อมทอง ด้วงเจาะลาต้น ปลวก เป็นต้น เป็นแมลงที่ชอบกัดกินลำต้น ใบ และใบอ่อน ทำให้ต้นหรือกิ่งหม่อนแห้งตาย

ประโยชน์หม่อน

ใบสดเมื่อนำใบมาเคี้ยวสด ๆ จะมีรสหวานอมขมเย็นเล็กน้อย บางท้องถิ่นนำมากินสด
ปัจจุบันนิยมนำใบมาตากแห้ง และชงดื่มเป็นน้ำชาใบหม่อน ซึ่งจะให้กลิ่นหอมมีเอกลักษณ์ และรสชาติเหมือนชา แต่อมหวานเล็กน้อย
บางท้องถิ่น เช่น ภาคอีสาน ภาคเหนือ นิยมใบมาปรุงอาหารในเมนูจำพวกต้มต่าง ซึ่งจะเพิ่มรสชาติให้อร่อยมากยิ่งขึ้น
ผลสุก สามารถกินเป็นผลไม้หรือเป็นอาหารนกได้
ในบางพื้นที่ที่มีการปลูกหม่อนมากจะนำผลหม่อนมาหมักเป็นไวน์จำหน่าย ซึ่งสามารถหาซื้อได้ตามสถาน Otop ต่างๆ ลักษณะไวน์จากผลหม่อนจะเป็นสีม่วงอมแดง หรือนำผลสุกมารับประทานสดซึ่งจะให้รสเปรี้ยวอมหวานเล็กน้อย หรือจำหน่ายผลหม่อนสุกกินสด

วิธีการนำไปใช้ประโยชน์

-การเลือกใบหม่อนเพื่อทำยา ควรเลือกใบเขียวสด ดูอวบทั่วทั้งใบ และไม่มีรอยกัดกินของแมลง
-การนำใบหม่อนมาทำยาสามารถทำด้วยวิธีการตากแห้งใบ แล้วบดอัดใส่แคปซูลรับประทานหรือการนำใบแห้งมาต้มดื่มเป็นชาใบหม่อน
-ไม่ควรใช้ยาต่อเนื่อง และในปริมาณที่มากๆ เพราะอาจได้รับสารแทนนินที่มีผลต่อระบบการย่อยอาหารในกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดท้องอืด อาหารไม่ย่อยได้
-หากพบมีอาการแพ้หรือมีผลผิดปกติในร่างกาย ให้หยุดการใช้ทันที

สรรพคุณหม่อน

ผลหม่อน เป็นผลหม่อนมีลักษณะสีแดง สีม่วงแดง และสุกจัดจะออกสีม่วงดำหรือสีดำ พบสารในกลุ่ม anthocyanin ที่มีฤทธิ์ต่อต้านอาการขาดเลือดในสมอง ต่อต้านอนุมูลอิสระ นอกจากนั้นยังพบวิตามินซี ในปริมาณสูง ช่วยป้องกันเลือดออกตามไรฟันอีกด้วย

ใบหม่อน (ต้มน้ำหรือใบแห้งชงเป็นชาดื่ม) ช่วยในการผ่อนคลาย, แก้ร้อนใน กระหายน้ำ, ช่วยลดไข้หวัด และอาการปวดหัว, ช่วยแก้อาการวิงเวียนศรีษะ, แก้ไอ แก้เจ็บคอ แก้คอแห้ง, ต้านอนุมูลอิสระ ลดการเสื่อมสภาพของเซลล์, ช่วยลดน้ำตาลในเลือด และช่วยทุเลาอาการจากโรคเบาหวาน, ลดระดับคลอเลสเตอรอลในเลือด, ป้องกันโรคหัวใจ และหลอดเลือด, ช่วยลดความดันเลือด และต้านแบคทีเรีย ช่วยแก้อาการท้องเสีย

กิ่ง ลำต้น พบสารหลายชนิดที่กล่าวในข้างต้น ทำหน้าที่ออกฤทธิ์ต่อต้านการสร้างเมลานินที่เป็นสารสร้างเม็ดสี จึงมีการสกัดสารดังกล่าวมาใช้ในเครื่องสำอางเพื่อความสวยความงามทำให้ผิวขาวนวล ผลจากฤทธิ์ทางยาอย่างอื่นมีการศึกษาพบช่วยบรรเทาอาการปวดข้อ กล้ามเนื้อ ลดอาการมือเท้าเป็นตะคริว

แหล่งที่มา

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ. หม่อน (Mulberry: Morus alba Linn.). สืบค้นเมื่อ 9 ตุลาคม 2561, จากhttps://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=7&chap=3&page=t7-3-infodetail02

สำนักวิจัยและพัฒนาหม่อนไหม. mulberry. สืบค้นเมื่อ 9 ตุลาคม 2561, จาก https://www.qsds.go.th/osrd_new/inside_page.php?pageid=4

เว็บเพื่อพืชเกษตรไทย. หม่อน/ใบหม่อน (mulberry) ประโยชน์ และสรรพคุณหม่อน. สืบค้นเมื่อ 9 ตุลาคม 2561,

เรื่องของหม่อน(ตอน1).. คลิปภัตตาคารบ้านทุ่ง : มัลเบอร์รี่