สุขภาพ-ชีวิต » หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท โรคยอดฮิตวัยสูงอายุ ค่าผ่าตัดแสนหก

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท โรคยอดฮิตวัยสูงอายุ ค่าผ่าตัดแสนหก

14 พฤษภาคม 2017
5306   0

 

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท (Herniated Nucleus Pulposus)


ถ้าจู่ๆคุณมีอาการปวดหลัง ขาชา ตึงหลัง เดินลำบากละก็ เชื่อว่าโรคแรกๆที่จะนึกถึงคงไม่พ้น “หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท” อย่างแน่นอน แต่ส่วนใหญ่เราจะเรียกกันสั้นๆว่า”กระดูกทับเส้น” จริงๆกระดูกมันไม่ได้ทับเส้นนะครับ หมอนกระดูกครับหมอนรองกระดูกมันทับเส้นประสาท


หมอนรองกระดูกมันทับเส้นประสาทได้ยังไงอ่ะ?


ให้พูดแบบกำปั้นทุบดินเลยนะครับ ก็คือหมอนรองกระดูกมันเสื่อมจากการใช้งานมานานจากการก้มๆเงยๆถือของหนัก ทำให้นํ้าในหมอนกระดูกสันหลังปลิ้นออกมาจนไปกดเบียดเส้นประสาทที่อยู่ด้านหลังนั่นเองครับ แต่กลัวว่าบทความมันจะสั้นไป ฉะนั้นผมจะขยายความแบบละเอียดยิบด้วยภาษาบ้านๆให้อ่านกัน

 

ภาพแสดงส่วนประกอบของหมอนรองกระดูก


ภายในหมอนรองกระดูกของกระดูกสันหลังนั้นหลักๆจะประกอบไปด้วย 2 ส่วนครับ คือ 


1) Nucleus pulposus : สารนํ้า(จริงๆแล้วเหมือนเจลมากกว่า)ภายในแกนกลางของหมอนรองกระดูก โดยมีหน้าที่ดูดซับแรงกระแทกและกระจายแรงของนํ้าหนักตัวที่ส่งผ่านมายังกระดูกสันหลังแต่ละข้อในขณะที่เคลื่อนไหวร่างกาย 

2) Annulus fibrosus : เส้นเอ็นก่อตัวเป็นชั้นๆห่อหุ้ม มีหน้าที่ให้ข้อต่อระหว่างกระดูกสันหลังมีความมั่นคงแข็งแรง จากการบิดตัวหรือการก้มเงย ป้องกันไม่ให้สารนํ้าใน nucleus pulposus ปลิ้นออกมาภายนอก 


กลไกการเกิดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท


เรารู้จักองค์ประกอบของหมอนรองกระดูกสันหลังกันแล้ว ทีนี้เรามาทำความเข้าใจกลไกการเกิดโรคกันต่อ การเกิดโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทหลักๆแล้วเกิดจาก การเสื่อมของ annulus fibrosus (เส้นเอ็นที่ก่อตัวเป็นหมอนรองกระดูกสันหลัง) จากการทำงานที่ส่งผลกระดูกสันหลังโดยตรง เช่น การก้มหลังยกของหนัก, การขับรถนาน, ทำกิจกรรมที่ต้องก้มๆเงยๆหลังเป็นประจำ, จากอุบัติเหตุต่อกระดูกสันหลังโดยตรง, เกิดจากการชอบก้มหลังพร้อมบิดตัว เป็นต้น ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้ที่เป็นการเพิ่มแรงเครียดต่อตัว annulus fibrosus อย่างมาก จนเกิดการฉีกขาดบางส่วน ทำให้สารนํ้าในหมอนรอง (nucleus pulposus) ค่อยๆดันตัว annulus fibrosus ออกมาทางด้านหลังจากนิสัยของคนที่ชอบก้มหลังยกของ จนในที่สุด annulus fibrosus เกิดการฉีกขาดเป็นรูทำให้สารนํ้าภายในทะลักออกมาได้ 


แต่เจ้าสารนํ้าที่ออกมานี้มันไม่ได้ออกมาเปล่าน่ะสิครับ เพราะที่ด้านหลังของหมอนรองกระดูกมีเส้นประสาทไขสันหลังอยู่ด้วย แถมตำแหน่งของสารนํ้าที่ออกมาดันไปโป๊ะเช๊ะกับเส้นประสาทพอดี จนเกิดอาการปวดหลัง ชาขาต่างๆนาๆที่สุดจะบรรยาย และนี่แหละครับ คือที่มาของโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

 

ภาพแสดงการแบ่งความรุนแรงของหมอนรองกระดูกทับเส้น


เรายังสามารถแบ่งระดับความรุนแรงของหมอนรองกระดูกทับเส้นได้ 4 ระดับ


ระดับที่ 1 : Bulging disc

คือ การเคลื่อนของหมอนรองกระดูกมาทางด้านหลังไม่เกิน 3 มิลลิเมตร และตัว annulus fibrosus ยังปกติ

ระดับที่ 2 : Protrusion 

คือ การเคลื่อนของหมอนรองกระดูกมาทางด้านหลังมากกว่า 4 มิลลิเมตร และตัวสารนํ้าอยู่ชิดกับขอบนอกของ annulus fibrosus แต่ยังไม่ทะลุออกมา ระยะนี้ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการปวดหลัง ขาชาเป็นๆหายๆ

ระดับที่ 3 : Extrusion 

คือ มีการเคลื่อนของหมอนรองกระดูกมาทางด้านหลัง มากกว่า 8 มิลลิเมตร และมีสารนํ้าภายในหมอนรองทะลุออกมาจาก annulus fibrosus แต่ก็ยังคงมีการเชื่อมติดกันอยู่ ระยะนี้ผู้ป่วยจะมีอาการอวดคงที่ ขาชาตลอดเวลา

ระดับที่ 4 : Sequestration 

คือ ภาวะที่หมอนรองกระดูกเคลื่อนออกมาจาก annulus fibrosus เต็มที่ และไม่มีการเชื่อมติดกันของหมอนรองกระดูกที่ออกมากับที่อยู่ภายใน ระยะนี้ถือว่าร้ายแรงที่สุดผู้ป่วยมัดเข้ารับการผ่าตัดในระยะนี้เพราะทนอาการปวดไม่ไหว 

 

ภาพเปรียบเทียบผู้ที่เป็นหมอนรองกระดูบกับเส้นกับไม่เป็น


ผลกระทบที่ตามมาหลังหมอนรองกระดูกเสื่อม


หลังจากที่หมอนรองกระดูกเสื่อมลงจนสารนํ้าภายใน (nucleus pulposus) ปลิ้นออกมาภายนอก หรือสูญหายไปบ้าง จนมีปริมาณลดน้อยลง มีผลให้ความสูงของหมอนรองกระดูกนั้นค่อยๆตีบแคบลงเรื่อยๆ เพราะปริมาณสารนํ้าภายในที่เป็นตัวกำหนดความสูงของหมอนรองกระดูกสันหลังได้หายไป เมื่อหมอนรองกระดูกสันหลังที่ตีบแคบลงแล้วจะทำให้เกิดอีกโรคนึงตามมาเสมอนั่นคือ “โรคกระดูกสันหลังเสื่อมครับ” เพราะข้อต่อ facet joint ภายในกระดูกสันหลังที่ทำหน้าที่เป็นตัวเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลังต้องแบกรับนํ้าหนักที่มากขึ้น และเมื่อถึงจุดหนึ่งข้อต่อ facet ก็แบกรับนํ้าหนักไม่ไหวจนเกิดการเสื่อมขึ้น ผู้ป่วยจะมีอาการปวดตึงหลัง รู้สึกหลังขัดๆเมื่อต้องก้มหรือแอ่นหลังนั่นเองครับ


อาการของโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท


โดยทั่วไปแล้วเมื่อหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ผู้ป่วยจะไม่มีอาการปวดหลังนะครับ จะรู้สึกชาขาซะมากกว่า แล้วอาการชาจะไม่ได้ชาทั่วทั้งขานะ แต่จะชาเป็นตำแหน่งกว้างๆซะมากกว่า เช่น ชาบริเวณต้นขาด้านนอกจนถึงข้อเท้าด้านนอก แต่ขาด้านในไม่มีอาการชาแต่อย่างใด ซึ่งจะต่างจากโรคกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาทที่มีอาการชาทั่วทั้งขา 

 

ภาพเปรียบเทียบหมอนรองกระดูกทับเส้นกับไม่เป็น


แต่ในรายที่เป็นหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทนอกจากจะมีอาการชาขาแล้วยังมีอาการปวดหลังด้วยนั้น ผมมองเป็น 2 ประเด็นนะครับ ..

1) มีภาวะกระดูกสันหลังเสื่อมทำให้ข้อต่อ facet อักเสบจนเกิดอาการปวดหลัง กับอีกประเด็นคือ

2) เกิดหมอนรองกระดูกปลิ้นมาทับเส้นประสาทแขนงใหญ่ที่อยู่กลางกระดูกสันหลังเลย ซึ่งอย่างที่ 2 นี้ถือว่าอันตรายมาก เพรามีความเสี่ยงที่จะเป็นอัมพาต และการที่จะเกิดหมอนรองกระดูกปลิ้นมาทับเส้นประสาทแกนกลางนี้มักจะเกิดแบบเฉียบพลัน เช่น ก้มหลังยกของหนักแล้วจู่ๆได้ยินเสียงดีงปึ้กกลางหลัง ซึ่งเป็นเสียง annulus fibrosus ฉีกขาดแล้วสารนํ้าภายในหมอนรองทะลักออกมากดทับเส้นประสาททันที บางรายก็ปวดหลังมากจนขยับไม่ได้ แต่บางรายหนักกว่านั้นคือจู่ๆขาพับและไร้ความสึกท่อนล่างทันที พูดง่ายๆคือเป็นอัมพาตเฉียบพลันนั่นแหละครับ 


เพราะโดยทั่วไปหมอนรองกระดูกจะทับเส้นประสาทที่เป็นแขนงเล็กๆไปเลี้ยงกล้ามเนื้อขาบางมัดทางด้านข้างมากกว่า ซึ่งอาการแบบนี้จะรักษาได้ง่ายและหายเร็ว หากเข้ารับการรักษาแต่เนิ่นๆนะครับ แต่หากทิ้งไว้นานๆฝืนทนไม่เข้ารับการรักษาใดๆ นอกจากอาการชาขาที่เป็นอยู่จะมีอาการขาอ่อนแรงตามมา กล้ามเนื้อขาข้างที่ชาเริ่มฝ่อลีบ สูญเสียประสาทรับความรู้สึกและสั่งการบางส่วนไป เดินเซ เสี่ยงล้ม และสุดท้ายคือ เดินไม่ได้อีกต่อไปครับ 


การดูแลรักษา


การรักษาด้วยตนเองนี้ เหมาะกับผู้ที่มีอาการไม่รุนแรงมาก หรือเคยเข้ารับการรักษามาแล้วจนอาการดีขึ้นแต่อยากรู้วิธีบริหารร่างกายด้วยตนเองเท่านั้นนะครับ ในรายที่ปวดมาก ชาเยอะ หรือเป็นมานานจนรู้สึกว่ากล้ามเนื้อฝ่อลีบแล้วแนะนำให้เข้ารับการรักษาตามรูปแบบดีกว่าครับ 


วิธีการลดปวดง่ายๆคือให้นอนควํ่าแล้วนำผ้าร้อนประคบหลังไว้ 20-30 นาที แต่รายที่หมอนรองกระดูกปลิ้นออกมามากอาจจะนอนควํ่าไม่ได้เลย ให้นำหมอนใบใหญ่มาหนุนไว้ที่หน้าท้องขณะที่นอนควํ่าครับ ยํ้านะครับว่าหนุนไว้ที่หน้าท้องบางรายนำหมอนใบใหญ่มากๆแทนที่จะหนุนแค่หน้าท้อง แต่ดันไปรองหน้าอกด้วยจนหลังแอ่นปวดมากกว่าเดิมอีก ในขณะที่นอนควํ่าอยู่นั้นหากรู้สึกว่าอาการปวดทุเลาลงแล้ว ก็ค่อยๆปรับขนาดหมอนให้ใบเล็กๆลงเรื่อยๆจนไม่ต้องใช้หมอนรองหน้าท้องอีกต่อไป


หากเรานอนควํ่าแล้วไม่มีอาการปวด ต่อมาให้เราใช้แขนยันตัวขึ้นโดยที่เอวยังคงติดเตียงอยู่ พยายามแอ่นหลังให้มากที่สุดโดยที่ไม่รู้สึกปวด หากแอ่นไปถึงจุดที่ปวดแล้วให้หยุดแล้วกลับสู่ท่านอนควํ่าเหมือน ทำท่านี้จำนวน 10 ครั้งนะครับ เพื่อดันสารนํ้าให้กลับเข้าที่ เปรียบเหมือนกับการปั๊มนํ้าแหละครับ 


ทีนี้หากเหยียดศอกจนตึงแล้วแอ่นหลังได้สุดโดยที่ไม่มีอาการใดๆแล้วละก็ ถึงเวลาที่บริหารกล้ามเนื้อหลังเพื่อเพิ่มความแข็งแรงและป้องกันไม่ให้หมอนรองกระดูกปลิ้นออกมาได้อีก โดนการนอนควํ่าเช่นเดิมครับ เอาแขนไว้ข้างลำตัว จากนั้นให้แอ่นหลังขึ้นจนอกพ้นพื้นแล้วลงจำนวน 10 ครั้ง และหากรู้สึกว่ากล้ามเนื้อแข็งแรงมากขึ้นก็ให้เพิ่มความยากโดยการเอาแขนไขว้หลังไว้ แล้วยกลําตัวขึ้นค้างไว้ 10 วินาที จำนวน 10 ครั้งครับ


อีกวิธีหนึ่งในการดันสารนํ้าให้กลับเข้าที่โดยไม่ต้องออกแรงอะไรมากมายเลย คือ การเดินในนํ้าครับ ให้เราไปเดินในสระนํ้าที่มีความสูงระดับอก โดยขณะที่เดินไล่ไปตามขอบสระนั้นให้เดินเตะขาไปด้วย หรือหากมีอาการปวดเมื่อเดินก็ให้ยืนนิ่งๆแล้วย่อตัวลงคล้ายกับท่านั่งเก้าอี้ลม เหตุที่ให้ลงนํ้าความสูงระดับอกนั้นก็เพื่อใช้แรงดันนํ้าเนี่ยแหละครับเป็นตัวดันให้สารนํ้าที่ปลิ้นออกมากลับเข้าที่ 


เหตุผลที่นอนควํ่าแล้วอาการชา อาการปวดเบาลงนั้น เนื่องจากในขณะที่เรานอนควํ่าแรงดึงดูดของโลกจะดึงสารนํ้าของหมอนรองกระดูกสันหลังที่ปลิ้นออกไปทางด้านหลังนั้นให้ไหลย้อนกลับมาเข้าไปในหมอนรองกระดูก เส้นประสาทที่ถูกสารนํ้ากดทับอยู่ก็จะหายไปนั่นเองครับ 


แต่อย่างที่บอกไปตั้งแต่ต้น หากมีอาการปวดรุนแรง ชามากๆก็ควรเข้ารับการรักษาทางกายภาพบำบัดจะเหมาะสมที่สุดนะครับ 

 

บทความ : อีก 1 โรคที่อาการคล้ายหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท (ชาร้าวลงขา กับอีกโรคที่หลายคนยังไม่รู้)

 

คลิป : ท่าบริหารหลัง แก้หมอนรองกระดูกทับเส้น (9 วิธีลดปวดหลังด้วยตนเอง จากโรคหมอนรองกระดูกทับเส้น)

คลิป : วิธีดึงหลัง ด้วยตนเอง (4 วิธี ดึงหลังด้วยตัวเอง ไม่ต้องง้อเครื่อง traction ในรพ. )

คลิป : วิธีตรวจโรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นด้วยตนเอง (5 เทคนิค ตรวจโรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้น แบบฉบับทำเอง)


เครดิตภาพ

– http://korsetlumbal.weebly.com/blog/category/all

– http://www.duluthdisabilitylawyer.com/back-injuries/

– http://drtonysetiobudi.com/2014/12/18/can-slipped-disc-or-hnp-herniated-nucleus-pulposus-recover-by-itself/

– http://morphopedics.wikidot.com/cervical-disc-herniation

– https://en.wikipedia.org/wiki/Spinal_disc_herniation

ขอบคุณ http://doobody.com/%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0..

 

199 comments

cheap amlodipine norvasc 5mg uk buy amlodipine 5mg online cheap

acyclovir tablet zovirax 400mg uk order zyloprim 100mg pill

brand zestril 2.5mg buy lisinopril 5mg pills lisinopril price

crestor buy online crestor 10mg pill buy zetia online

order omeprazole 20mg pills buy omeprazole online cheap prilosec 10mg usa

buy generic domperidone domperidone cheap sumycin 500mg us

purchase lopressor lopressor cheap order lopressor pill

toradol cheap colcrys 0.5mg cost gloperba for sale

medrol 4mg tablets methylprednisolone 4mg online buy generic medrol

teach me how to write an essay paper help websites for essay writing

buy generic inderal order inderal 20mg clopidogrel 75mg pill

methotrexate online buy buy warfarin 2mg for sale warfarin drug

meloxicam tablet mobic 15mg sale buy celecoxib for sale

reglan 20mg for sale losartan pills buy cozaar medication

cheap tamsulosin 0.4mg celebrex where to buy order celecoxib 100mg

buy nexium 40mg online buy generic esomeprazole online cost topiramate 200mg

buy zofran 8mg generic buy zofran generic aldactone 100mg ca

buy sumatriptan 50mg for sale purchase levofloxacin without prescription order levofloxacin 500mg generic

how to buy zocor buy generic valtrex over the counter buy cheap generic valtrex

avodart generic cost ranitidine 300mg cheap zantac

cheap acillin order amoxil generic buy amoxicillin medication

buy proscar 1mg pill order proscar 5mg without prescription purchase forcan pill

purchase cipro generic – generic myambutol buy augmentin 1000mg online

ciprofloxacin usa – cephalexin 125mg oral oral augmentin 625mg