สุขภาพ-ชีวิต » ต่อมลูกหมากโต..โรควัยผู้สูงอายุมากกว่า50มักเจอแทบทุกคน

ต่อมลูกหมากโต..โรควัยผู้สูงอายุมากกว่า50มักเจอแทบทุกคน

22 พฤษภาคม 2017
6142   0

 

ต่อมลูกหมากโต (Benign Prostatic Hyperplasia – BPH) เป็นภาวะที่ต่อมลูกหมาก* ซึ่งอยู่ล้อมรอบท่อปัสสาวะมีขนาดโตขึ้นอย่างผิดปกติจนไปเบียดท่อปัสสาวะให้แคบลง จึงส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการปัสสาวะลำบากหรือติดขัด และยังเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผนังกล้ามเนื้อของกระเพาะปัสสาวะหนาขึ้นจากการต้องบีบตัวแรงขึ้นเพื่อขับปัสสาวะผ่านทางท่อแคบ ๆ เมื่อผนังกระเพาะปัสสาวะหนาตัวขึ้นก็จะส่งผลต่อความสามารถในการเก็บน้ำปัสสาวะที่ลดลง ทำให้ผู้ป่วยต้องปัสสาวะบ่อย ๆ

โรคนี้เป็นโรคที่พบได้เป็นปกติและการเกิดมักจะสัมพันธ์กับอายุที่มากขึ้น โดยผู้ชายเมื่อมีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป ต่อมลูกหมากจะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงเป็นก้อนโตขึ้น แล้วจะโตขึ้นเรื่อย ๆ ไปตามอายุที่มากขึ้น เมื่อโตมากก็จะเกิดแรงกดต่อท่อปัสสาวะให้แคบลง ทำให้มีอาการปัสสาวะลำบาก ซึ่งผู้ป่วยมักจะเริ่มแสดงอาการเมื่อมีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป และจะพบอาการผิดปกติได้มากขึ้นเมื่อมีอายุมากขึ้น โดยผู้ชายที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปประมาณ 50% จะเริ่มมีอาการชัดเจน เมื่อถึงอายุ 80 ปี ประมาณ 80-90% จะมีอาการต่อมลูกหมากโต หรืออาจพูดได้ว่ายิ่งอายุมากขึ้นเท่าใด โอกาสที่จะเป็นต่อมลูกหมากโตก็มีมากขึ้นตามไปด้วย นอกจากนี้ยังพบด้วยว่า ผู้ชายอายุ 55-74 ปี จะมีอาการแสดงของโรคนี้ประมาณ 20% บางคนอาจมีต่อมลูกหมากโตแต่ไม่แสดงอาการก็ได้

โรคเกี่ยวกับต่อมลูกหมากมีอยู่ด้วยกันหลายโรค แต่ส่วนใหญ่ที่พบได้บ่อย ๆ คือ ต่อมลูกหมากอักเสบ และเนื้องอกของต่อมลูกหมาก ซึ่งเนื้องอกที่ว่านี้ก็แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ เนื้องอกชนิดธรรมดา และเนื้องอกชนิดร้ายแรงหรือมะเร็ง โดยทั่วไปถ้าเราพูดถึงโรคต่อมลูกหมากโต เรามักจะหมายถึงเนื้องอกชนิดธรรมดาครับ ซึ่งโรคต่อมลูกหมากโตนี้ก็ไม่ใช่โรคมะเร็งและจะไม่มีวันกลายเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากไปได้ เพราะเป็นคนละโรคกัน แต่อย่างไรก็ตามอาการผิดปกติของต่อมลูกหมากโต (เนื้องอกชนิดธรรมดา) และมะเร็งต่อมลูกหมาก (เนื้องอกชนิดร้ายแรง) ก็มีความคล้ายคลึงกัน และในผู้ป่วยบางรายอาจเป็นทั้งสองโรคนี้ในขณะเดียวกันก็ได้

หมายเหตุ : ต่อมลูกหมาก (Prostate gland) เป็นอวัยวะในระบบสืบพันธุ์เพศชาย ซึ่งมีหน้าที่ในการสร้างน้ำเมือก ที่เป็นส่วนหนึ่งของน้ำกาม มีความเป็นเบสอ่อน ๆ จึงช่วยให้เกิดสภาพที่เหมาะสมกับตัวอสุจิ ลดสภาพความเป็นกรดของท่อปัสสาวะและช่วยให้ตัวอสุจิแข็งแรงและแหวกว่ายได้ว่องไวขึ้น โดยต่อมลูกหมากจะอยู่ตรงด้านหลังของคอกระเพาะปัสสาวะในอุ้งเชิงกรานหลังกระดูกหัวหน่าว ซึ่งลักษณะของต่อมจะมี 5 กลีบ และมีน้ำหนักประมาณ 20 กรัม (หลายคนมักเข้าใจผิดคิดว่าต่อมลูกหมากคือลูกอัณฑะ ที่ถูกต้องคือ ต่อมลูกหมากมีหน้าที่สร้างน้ำเมือกเพื่อหล่อเลี้ยงตัวอสุจิ ส่วนอัณฑะนั้นมีหน้าที่ในการสร้างตัวอสุจิ)

ต่อมลูกหมากโตเกิดจากอะไร

สาเหตุของต่อมลูกหมากโต

ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่เชื่อว่ามีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพศชายที่มีชื่อว่า “ไดไฮโดรเทสโทสเตอโรน” (Dihydrotestosterone – DHT) ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นให้ต่อมลูกหมากซึ่งอยู่ล้อมรอบท่อปัสสาวะมีขนาดโตขึ้นและไปเบียดท่อปัสสาวะให้แคบลง จนส่งผลให้ผู้ป่วยปัสสาวะได้ลำบากหรือติดขัด

นอกจากนี้ ต่อมลูกหมากโตยังเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผนังกล้ามเนื้อของกระเพาะปัสสาวะหนาตัวขึ้นด้วย เนื่องจากต้องบีบตัวแรงขึ้นเพื่อขับน้ำปัสสาวะให้ผ่านทางท่อแคบ ๆ ที่ถูกแรงกดอยู่ และเมื่อผนังกระเพาะปัสสาวะหนาตัวขึ้นก็จะส่งผลต่อความสามารถในการกักเก็บน้ำปัสสาวะที่ลดลง ทำให้ผู้ป่วยต้องปัสสาวะบ่อย ๆ และอาจได้รับการกระตุ้นให้ปวดปัสสาวะขึ้นมาอย่างกะทันหันได้

อาการต่อมลูกหมากโต

มีงานการศึกษาวิจัยในกลุ่มคนชาติต่าง ๆ พบว่าอุบัติการณ์ของการเกิดโรคนี้แตกต่างกันไป เช่น ฝรั่งหรือคนทางตะวันตกจะเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากกันมากกว่าคนเอเชีย ซึ่งอาจมีปัจจัยสำคัญเกี่ยวกับประเภทของอาหารที่รับประทานอยู่ในชีวิตประจำวัน หรือเกี่ยวข้องกับการเป็นประเทศอุตสาหกรรม ที่น่าสนใจคือ เคยมีรายงานว่า คนญี่ปุ่นเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากน้อยมากถ้าอยู่ในญี่ปุ่น แต่ถ้าคนญี่ปุ่นอพยพไปอาศัยและเติบโตอยู่ในสหรัฐอเมริกา ก็จะมีโอกาสเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากพอ ๆ กับคนอเมริกันหรือฝรั่งผิวขาว นั่นแสดงว่าอาหารน่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องเป็นอย่างมาก

เมื่ออายุมากขึ้นเนื้อเยื่อจะมีการเปลี่ยนแปลงเป็นเนื้องอกชนิดธรรมดา โดยไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดว่าเกิดจากอะไร เมื่อเซลล์แตกตัวมากขึ้นก็จะทำให้ขนาดของต่อมลูกหมากโตขึ้นจนไปกดหรือเบียดท่อปัสสาวะ ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการปัสสาวะลำบากหรือติดขัด

อาการของต่อมลูกหมากโต

ผู้ป่วยจะมีอาการถ่ายปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะไม่ออกในทันทีหรือค่อยเป็นค่อยไป ต้องออกแรงเบ่งหรือรออยู่นานกว่าจะถ่ายปัสสาวะออกมาได้ ทำให้ใช้เวลาในการถ่ายปัสสาวะนาน ปัสสาวะไม่พุ่ง ไหลช้า ปัสสาวะกะปริดกะปรอย ถ่าย ๆ หยุด ๆ หลายครั้ง ปัสสาวะออกเป็นหยด ๆ ในช่วงท้ายของการถ่ายปัสสาวะ ลำปัสสาวะเบี้ยวหรือเล็กลง มีความรู้สึกเหมือนถ่ายปัสสาวะไม่สุด ทำให้อยากปัสสาวะอยู่เรื่อย ๆ และปัสสาวะบ่อยห่างกันไม่ถึง 1-2 ชั่วโมง หลังเข้านอนตอนกลางคืนต้องลุกขึ้นมาปัสสาวะบ่อย ๆ มากกว่า 1-2 ครั้ง ส่วนในเวลากลางวันก็มีอาการปัสสาวะบ่อยเช่นกัน เพียงแต่ผู้ป่วยจะปรับตัวได้จนไม่รู้สึก นอกจากนี้เวลารู้สึกปวดปัสสาวะจะต้องรีบเข้าห้องน้ำทันที เพราะไม่สามารถกลั้นปัสสาวะได้

อาการดังกล่าวจะค่อย ๆ เป็นมากและดีขึ้นอย่างช้า ๆ โดยใช้เวลาเป็นแรมปีจนกระทั่งต่อมลูกหมากโตมากและกดท่อปัสสาวะอย่างรุนแรง ก็จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการถ่ายปัสสาวะไม่ออก มีความรู้สึกปวดปัสสาวะ ปวดตึงท้องน้อย และคลำได้ก้อนของกระเพาะปัสสาวะที่มีปัสสาวะคั่งอยู่เต็ม บางครั้งอาการปัสสาวะไม่ออกเฉียบพลันอาจเกิดขึ้นหลังการใช้ยาที่มีฤทธิ์แอนติโคลิเนอร์จิก (Anticholinergic) เช่น แอนติสปาสโมดิก (Antispasmodics), แอนติฮิสตามีน (Antihistamines), ยาทางจิตประสาท (Transquilizer) เป็นต้น และยาในกลุ่มกระตุ้นประสาทซิมพาเทติก เช่น อะดรีนาลีน (Adrenaline), ซูโดอีเฟดรีน (Pseudoephedrine) เป็นต้น หรืออาจเกิดขึ้นหลังจากการวางยาสลบ การดื่มแอลกอฮอล์ หรือการนอนอยู่นาน ๆ โดยไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกาย

ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการถ่ายปัสสาวะเป็นเลือด เนื่องจากเบ่งถ่ายนาน ๆ อาจทำให้หลอดเลือดดำที่ท่อปัสสาวะคั่ง แล้วแตกจนมีเลือดออกมาได้ (ถ้าพบปัสสาวะออกมาเป็นเลือด ในการวินิจฉัยแยกโรคแพทย์จะนึกถึงโรคอื่นก่อนเสมอ เพราะอาการดังกล่าวไม่ใช่อาการนำของโรคนี้)

ข้อควรทราบ : แม้ต่อมลูกหมากจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามวัย คือมีขนาดที่โตขึ้นตามอายุก็ตาม แต่อาการของโรคกับขนาดจะไม่สัมพันธ์กัน เพราะบางคนมีต่อมลูกหมากโตไม่มาก แต่อาการที่แสดงออกมาอาจเป็นมากก็ได้ หรือบางคนอาจมีต่อมลูกหมากโตมาก แต่มีอาการเพียงเล็กน้อย ทั้งนี้เพราะยังมีปัจจัยอื่น ๆ อีกมากเข้ามาเกี่ยวโยงด้วย

ภาวะแทรกซ้อนของโรคต่อมลูกหมากโต

  • อาจทำให้เกิดไตวาย ในรายที่เป็นรุนแรงและไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี ผู้ป่วยอาจเสียชีวิตด้วยภาวะแทรกซ้อนจากอาการไตวายได้ แต่ในปัจจุบันความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพค่อนข้างจะแพร่หลายและประชาชนเองก็มีอายุยืนยาวมากขึ้น จึงมีการพูดถึงโรคนี้กันมาก ทำให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้มาพบแพทย์ได้เร็วเมื่อเริ่มมีอาการผิดปกติ ดังนั้นโอกาสที่ผู้ป่วยจะเสียชีวิตด้วยไตวายอย่างแต่ก่อนก็มีน้อยลงมาก
  • เกิดการติดเชื้อได้ง่ายจากการถ่ายปัสสาวะออกไม่หมด (มีการคั่งค้าง) เช่น กระเพาะปัสสาวะอักเสบ กรวยไตอักเสบ
  • อาจทำให้กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะล้า ผนังกระเพาะปัสสาวะหย่อนยานหรือเป็นถุงโป่งพอง หรือเกิดนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ
  • ในรายที่มีการอุดกั้นของทางเดินปัสสาวะอยู่นาน อาจทำให้ท่อไตและไตบวม
  • ปกติแล้วอาการของโรคนี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อสมรรถภาพทางเพศ

การวินิจฉัยโรคต่อมลูกหมากโต

  • แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคต่อมลูกหมากโตได้จากการซักประวัติ สอบถามอาการ ระยะเวลาที่เริ่มมีอาการ ตรวจร่างกายทั่วไป และอาจให้ผู้ป่วยทำแบบทดสอบเกี่ยวกับอาการขับถ่ายปัสสาวะที่ผิดปกติ
  • จากนั้นแพทย์จะทำการตรวจต่อมลูกหมากทางทวารหนัก (Digital Rectal Examination – DRE) ซึ่งแพทย์จะสวมถุงมือพร้อมกับใช้สารหล่อลื่น แล้วใช้นิ้วสอดเข้าไปในทวารหนักและกดคลำลงบนต่อมลูกหมากผ่านทางทวารหนักเพื่อดูว่ามีลักษณะโตผิดปกติหรือไม่ หากพบว่ามีลักษณะโตผิวเรียบแสดงว่าเป็นต่อมลูกหมากโต แต่ถ้ามีลักษณะโตแต่ผิวไม่เรียบหรือค่อนข้างแข็งก็น่าสงสัยว่าเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก ซึ่งแพทย์จะตรวจสารพีเอสเอในเลือด (PSA*) ถ้าพบว่ามีค่าสูงกว่าปกติ แพทย์จะแนะนำให้ตัดชิ้นเนื้อของต่อมลูกหมาก โดยใช้เข็มเล็ก ๆ ผ่านทางทวารหนัก แล้วนำไปตรวจโดยกล้องจุลทรรศน์
  • ตรวจสมรรถภาพการขับถ่ายปัสสาวะ โดยดูจากความแรงของการถ่ายปัสสาวะและจำนวนปัสสาวะที่เหลือค้าง
  • เพื่อวินิจฉัยโรคได้ถูกต้อง แพทย์อาจทำการตรวจพิเศษอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น การถ่ายภาพรังสีทางเดินปัสสาวะโดยการฉีดสารทึบแสงเข้าทางหลอดเลือดดำ (Intravenous urography – IVU) ซึ่งจะทำให้เห็นตำแหน่งและความรุนแรงของการอุดกลั้นปัสสาวะ, การตรวจอัลตราซาวนด์ (Ultrasound) ผ่านทางทวารหนัก ที่สามารถทำให้เห็นต่อมลูกหมาก ไต และกระเพาะปัสสาวะได้, การใช้กล้องส่องตรวจกระเพาะปัสสาวะ (Cystoscopy) เพื่อดูต่อมลูกหมาก กระเพาะปัสสาวะ ซึ่งเป็นการตรวจที่ได้ข้อมูลมาก, การตรวจวัดความแรงของปัสสาวะ (Uroflowmetry) เพื่อดูว่าทางเดินปัสสาวะถูกอุดมากน้อยแค่ไหน เป็นต้น นอกจากนี้แพทย์อาจทำการตรวจปัสสาวะเพื่อดูการติดเชื้อหรือเลือดออก, ตรวจระดับครีอะตินีนในเลือดเพื่อดูภาวะไตวาย, หรือตรวจสารพีเอสเอในเลือด (PSA) เพื่อดูว่าเป็นมะเร็งหรือไม่ เป็นต้น

 

หมายเหตุ : พีเอสเอ (Prostate-Specific Antigen – PSA) เป็นสารที่สร้างโดยเนื้อเยื่อต่อมลูกหมาก ระดับพีเอสเอในเลือดปกติแล้วจะมีค่าต่ำกว่า 4 นาโนกรัม/มล. ถ้าตรวจพบว่ามีค่าสูงกว่าปกติ ก็แสดงว่าอาจมีพยาธิสภาพของต่อมลูกหมาก เช่น ต่อมลูกหมากโต ต่อมลูกหมากอักเสบ ต่อมลูกหมากได้รับบาดเจ็บหรือผ่าตัด มะเร็งต่อมลูกหมาก เป็นต้น โดยค่าที่ตรวจได้ถ้าอยู่ในระหว่าง 4-10 นาโนกรัม/มล. อาจเป็นมะเร็งหรือไม่ใช่ก็ได้, ถ้าค่าที่ตรวจได้มีมากกว่า 10 นาโนกรัม/มล. ก็มีโอกาสเป็นมะเร็งได้สูงขึ้น (ถ้าเป็นสาเหตุที่ไม่ใช่มะเร็ง ค่าที่ตรวจได้มักจะต่ำกว่า 20 นาโนกรัม/มล.), ถ้าค่าที่ตรวจได้มีมากกว่า 100 นาโนกรัม/มล. มักจะเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากชนิดแพร่กระจาย และถ้ามีค่าพีเอสเอเพิ่มขึ้นปีละ 0.8 นาโนกรัม/มล. หรือมากกว่า อาจบ่งชี้ว่ากำลังมีมะเร็งเกิดขึ้น อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมากบางรายก็อาจมีค่าพีเอสเออยู่ในระดับปกติก็ได้

ข้อควรทราบ : อาการถ่ายปัสสาวะลำบากในผู้ชายสูงอายุ อาจเกิดจากโรคมะเร็งต่อมลูกหมากหรือมะเร็งของกระเพาะปัสสาวะก็ได้ ซึ่งบางครั้งอาจทำให้แยกอาการจากต่อมลูกหมากโตไม่ออก ดังนั้นทางที่ดีผู้ชายสูงอายุที่มีอาการปัสสาวะลำบากควรไปตรวจที่โรงพยาบาลทุกราย

วิธีรักษาต่อมลูกหมากโต

  1. สำหรับผู้ชายสูงอายุที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ถ้ามีอาการผิดปกติในระบบขับถ่ายปัสสาวะ เช่น ปัสสาวะติดขัด ต้องเบ่ง หรือรอนานกว่าจะปัสสาวะออกมาได้ ปัสสาวะไม่ค่อยพุ่ง บางครั้งออกมาเป็นหยด ๆ หรือมีอาการปวดปัสสาวะบ่อย ๆ อั้นปัสสาวะไม่อยู่ ถ่ายปัสสาวะไม่สุด หรือถ่ายปัสสาวะเป็นเลือด ก็ควรหาเวลาไปพบแพทย์เพื่อได้รับการตรวจรักษาอย่างถูกต้อง (ตามปกติแล้วผู้ชายสูงอายุควรไปตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี ซึ่งแพทย์มักจะทำการตรวจต่อมลูกหมากให้ด้วยอยู่แล้ว)
  2. ในรายที่เป็นต่อมลูกหมากโตระยะเริ่มแรก มีอาการไม่มากหรือมีอาการเพียงเล็กน้อยและไม่กวนวิถีชีวิตประจำวันมากจนเกินไป ตรวจดูพบว่าไตของผู้ป่วยยังคงเป็นปกติ ไม่มีอาการติดเชื้อ ไม่มีอาการอักเสบ และแน่ใจว่าผู้ป่วยไม่ได้เป็นมะเร็ง แพทย์ก็จะยังไม่ให้การรักษาใด ๆ เพียงแต่เฝ้าติดตามดูอาการเป็นระยะ ๆ และแนะนำให้ผู้ป่วยใส่ใจเรื่องการดูแลสุขภาพให้ดีด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่าง ได้แก่
    • ผู้ป่วยที่ปัสสาวะบ่อยเพราะดื่มน้ำมาก โดยเฉพาะก่อนเข้านอนก็ควรลดปริมาณการดื่มน้ำให้น้อยลงและให้ปัสสาวะก่อนเข้านอน เพราะกลางคืนจะได้ไม่ต้องลุกขึ้นมาบ่อย ๆ และถ้าถ่ายปัสสาวะบ่อยเพราะรีบไปถ่ายเมื่อปวดก็ควรกลั้นไว้จนเกือบทนไม่ไหว โดยปริมาณปัสสาวะที่เหมาะสมในการขับถ่ายแต่ละครั้งคือประมาณ 1 แก้ว หรือขับถ่ายปัสสาวะให้ห่างกันประมาณ 2 ชั่วโมง
    • หลีกเลี่ยงการกลั้นปัสสาวะเป็นเวลานาน ๆ เมื่อปวดแล้วก็ควรไปถ่ายปัสสาวะ เพราะกลั้นแล้วจะทำให้เป็นมากขึ้น
    • งดการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิด เพราะแอลกอฮอล์จะทำให้ปัสสาวะออกมาเยอะ
    • อย่านั่งจักรยานหรือทำอะไรที่สะเทือนต่อต่อมลูกหมาก เพราะจะทำให้ปัสสาวะไม่ออก
    • ถ้าเป็นไปได้ควรมีการร่วมเพศบ้าง เพราะเวลาที่มีน้ำเชื้อออกมาจะทำให้ต่อมลูกหมากไม่บวม
    • หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีฤทธิ์แอนติโคลิเนอร์จิก (Anticholinergic) และยาในกลุ่มกระตุ้นประสาทซิมพาเทติก เพราะอาจทำให้ปัสสาวะไม่ออกอย่างเฉียบพลันได้
    • ควรรีบมาพบแพทย์เมื่อมีอาการผิดปกติมากขึ้น
  3. ในรายที่มีอาการปัสสาวะลำบากมากขึ้น จนมีผลกระทบต่อวิถีชีวิตประจำวันและความเป็นอยู่ หรือในรายที่เป็นมาก ๆ แต่อยู่ในระหว่างรอการผ่าตัด แพทย์จะให้การรักษาด้วยยาชนิดใดชนิดหนึ่งตามความเหมาะสม ได้แก่
    • ยากลุ่มปิดกั้นแอลฟา (Alpha-blockers) เช่น ยาพราโซซิน (Prazosin) ให้ในขนาด 2 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง, ยาเทราโซซิน (Terazosin) ให้ในขนาด 2-10 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้งก่อนนอน, ยาดอกซาโซซิน (Doxazosin) ให้ในขนาด 4-8 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้งก่อนนอน เป็นต้น ซึ่งยาในกลุ่มนี้จะมีฤทธิ์ลดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อต่อมลูกหมากและกล้ามเนื้อหูรูดที่คอกระเพาะปัสสาวะ มีผลทำให้ถ่ายปัสสาวะได้คล่องขึ้น นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ลดความดันโลหิต จึงเหมาะสำหรับผู้ป่วยต่อมลูกหมากโตที่มีโรคความดันโลหิตสูงร่วมด้วย
    • ยากลุ่มยับยั้งเอนไซม์แอลฟารีดักเทส (Alpha reductase inhibitors) เช่น ยาฟิแนสเทอไรด์ (Finasteride) ในขนาด 5 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง (ต้องใช้ติดต่อกันอย่างน้อย 3 เดือน จึงจะเห็นผล) ซึ่งยานี้จะมีฤทธิ์ยับยั้งไม่ให้เทสโทสเตอโรนเปลี่ยนเป็นไดไฮโดรเทสโทสเตอโรน (Dihydrotestosterone) ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นให้ต่อมลูกหมากโต ทำให้ต่อมลูกหมากเล็กลงได้ประมาณ 30% อีกทั้งยานี้ยังมีข้อดีทำให้ผมดกขึ้นด้วย จึงเหมาะสำหรับผู้ป่วยต่อมลูกหมากโตที่มีปัญหาเรื่องผมบางหรือศีรษะล้านร่วมด้วย
    • ยาสมุนไพรที่สกัดขึ้นมาเพื่อลดอาการบวม (จะกล่าวถึงอย่างละเอียดต่อไป)
  4. ในรายที่ใช้ยารักษาไม่ได้ผล หรือมีอาการปัสสาวะไม่ออกซ้ำซาก ปัสสาวะปนเลือดบ่อย ๆ เป็นโรคติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะบ่อย ๆ มีอาการไตเสื่อม มีนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ หรือผนังกระเพาะปัสสาวะหย่อนยานหรือเป็นถุงโป่งพอง แพทย์จะทำการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายวิธี ได้แก่
    • การผ่าตัดโดยการใช้กล้องส่องผ่านท่อปัสสาวะ (Transurethral resection of the prostate – TURP) เพื่อเข้าไปตัดเอาชิ้นเนื้อส่วนที่เกินออกมาจากต่อมลูกหมาก ซึ่งเป็นวิธีผ่าตัดที่แพทย์นิยมใช้กันเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะกับผู้ป่วยที่มีอาการหนักหรือมีภาวะแทรกซ้อน แพทย์ผ่าตัดจะส่งท่อที่มีกล้องขนาดเล็กผ่านเข้าทางท่อปัสสาวะ ซึ่งตรงปลายท่อจะมีเครื่องมือผ่าตัดขนาดเล็กเพื่อใช้สำหรับตัดเนื้อเยื่อต่อมลูกหมากส่วนที่กดทับท่อปัสสาวะไว้ วิธีนี้สามารถทำได้โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น โดยเฉพาะแพทย์ทางเดินปัสสาวะหรือศัลยแพทย์เฉพาะทาง ในระหว่างการผ่าตัดผู้ป่วยจะได้รับการวางยาเฉพาะส่วนล่าง จึงทำให้ไม่รู้สึกเจ็บ ในระยะ 3-4 วันแรกต้องใส่สายสวนปัสสาวะเพื่อให้กระเพาะปัสสาวะได้พัก และรอให้ปัสสาวะใสเสียก่อนแล้วจึงเอาสายสวนออก โดยผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้นภายใน 2-4 สัปดาห์
      การรักษาต่อมลูกหมากโต
    • การผ่าตัดโดยการเปิดเข้าหน้าท้อง (Suprapubic หรือ Radical retropubic prostatectomy – RRP) แต่ถ้าต่อมลูกหมากมีขนาดใหญ่มาก ก็อาจต้องทำการผ่าตัดแบบเปิดเข้าหน้าท้องเพื่อเอาเนื้อเยื่อส่วนเกินออกมา ซึ่งวิธีการผ่าตัดโดยการเปิดเข้าหน้าท้องนี้อาจทำให้เกิดภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้ และเกิดภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดมากกว่าการผ่าตัดโดยการใช้กล้องส่องผ่านท่อปัสสาวะ
  5. นอกจากนี้ในผู้ป่วยบางราย แพทย์อาจเลือกรักษาด้วยวิธีอื่นที่ง่ายและมีความเสี่ยงน้อยกว่าการผ่าตัด (แต่ถ้าใช้วิธีเหล่านี้ไม่ได้ ก็จำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัดอยู่ดี) เช่น
    • การขยายท่อปัสสาวะโดยการใส่ท่อคาไว้ (Prostatic stent) ซึ่งเป็นวิธีที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ผ่าตัดไม่ได้หรือปฏิเสธการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด
    • การจี้ต่อมลูกหมากด้วยแสงเลเซอร์ (Transurethral incision of the prostate – TUIP) หรือการจี้ต่อมลูกหมากด้วยไฟฟ้า (Transurethral electrovaporization of the prostate – TUVP)
    • การใช้คลื่นความร้อน เช่น คลื่นไมโครเวฟ (Transurethral Microwave Thermotherapy of the Prostate – TUMT), คลื่นอัลตราซาวนด์ (High-intensity focused ultrasound – HIFU), คลื่นวิทยุ (Radiofrequency vaporization) ผ่านเข้าไปที่ต่อมลูกหมากเพื่อทำให้เกิดความร้อนบริเวณต่อมลูกหมากจนเนื้อเยื่อตาย ต่อมลูกหมากก็จะฝ่อและเล็กลง ทำให้ผู้ป่วยปัสสาวะได้คล่องขึ้น และยังสามารถดำเนินการรักษาในขณะที่เป็นผู้ป่วยนอกได้ (เป็นวิธีที่แพทย์เลือกใช้ในผู้ป่วยที่ไม่เหมาะกับการผ่าตัด)
  6. เมื่อมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น แพทย์จะให้การรักษาไปตามภาวะที่เป็น เช่น ให้ยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาโรคติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะ ใช้สายสวนปัสสาวะในรายที่ปัสสาวะไม่ออก เป็นต้น

เหตุใดแพทย์จึงไม่ผ่าตัดต่อมลูกหมากโตให้เลย ?

หลายคนสงสัยว่า ทำไมแพทย์ถึงไม่ผ่าตัดให้เลยจะได้หมดปัญหา ที่เป็นอย่างนั้นก็เนื่องจากว่าการผ่าตัดใหญ่ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ อย่างที่คนทั่วไปเข้าใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อมลูกหมากโตที่ผู้ป่วยเป็นผู้สูงอายุ ถ้าหากทำการผ่าตัดโดยไม่มีข้อบ่งชี้เพียงพอ ผลที่ได้ก็จะไม่คุ้มกับที่เสียไป ดังนั้น แพทย์จึงต้องคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ อย่างละเอียดรอบคอบ เช่น ความสมบูรณ์ของร่างกายผู้ป่วยที่จะต้องดูพอสมควร, โรคประจำตัวของผู้ป่วยที่เป็นกันมากในผู้สูงอายุ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ ฯลฯ ที่ล้วนแต่มีผลต่อการผ่าตัด, ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้จากการดมยาสลบหรือการผ่าตัด คือถ้าไม่จำเป็นจริง ๆ ก็ไม่ต้องผ่าตัด, สถานที่หรือแพทย์เฉพาะทาง คือ ศัลยแพทย์เกี่ยวกับระบบทางเดินปัสสาวะที่ยังมีอยู่น้อยมากไม่กี่ร้อยคนในประเทศไทยเมื่อเทียบกับจำนวนคนไข้ทั้งหมด เป็นต้น

โรคต่อมลูกหมากโตอันตรายหรือไม่ ?

ดังที่กล่าวไปแล้วว่า ผู้ชายอายุ 80-90 ปี ส่วนใหญ่จะเป็นโรคนี้กันแทบทุกคน ส่วนจะเป็นอันตรายหรือไม่นั้นก็ขึ้นอยู่กับการดูแลสุขภาพของตนเองว่ามีมากน้อยแค่ไหน อีกทั้งโรคนี้ก็เป็นโรคที่ขึ้นอยู่กับตัวผู้ป่วยด้วยว่ารู้สึกอย่างไรกับอาการที่เกิดขึ้น เพราะบางคนยอมรับสภาพที่มีอาการปัสสาวะบ่อย ๆ ได้ และถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา จึงไม่รู้สึกเดือดร้อนมากเท่าไร แต่ในผู้สูงอายุบางคนกลับรู้สึกว่าเป็นอาการที่รุนแรงหรือเป็นภาวะที่น่ารำคาญและรบกวนวิถีชีวิตประจำวัน ก็จะไปพบแพทย์เพื่อหาทางแก้ไขหรือบรรเทาอาการ เรื่องนี้จึงขึ้นอยู่กับความอดทนของแต่ละคนซึ่งมีไม่เท่ากัน แต่บางคนก็ปล่อยปละละเลยหรือฝืนร่างกายจนมีอาการรุนแรงและเกิดโรคแทรกซ้อนตามมา เช่น กระเพาะปัสสาวะอักเสบ กรวยไตอักเสบ เกิดภาวะไตวาย เป็นต้น ยิ่งถ้าผู้ป่วยมีโรคประจำตัวอื่น ๆ ด้วยแล้ว (เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ฯลฯ) ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องตั้งแต่เริ่มมีอาการก็อาจเป็นเหตุทำให้เกิดอันตรายจนเสียชีวิตได้

โรคต่อมลูกหมากโตสามารถรักษาให้หายขาดได้หรือไม่ ?

โรคต่อมลูกหมากโตเป็นโรคเนื้องอกในต่อมลูกหมาก การรักษาโดยการผ่าตัดไม่ได้ตัดต่อมลูกหมากทิ้งไปแต่อย่างใด เพียงแต่ตัดเอาเนื้องอกส่วนเกินมาออกไป ซึ่งเนื้องอกก็สามารถเกิดขึ้นใหม่ได้อีก แต่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดังที่กล่าวไปแล้วก็มีส่วนช่วยให้อาการดีขึ้นได้ แต่บางส่วนอาการอาจจะไม่ดีขึ้นแต่ก็ไม่ได้แย่ลง

วิธีป้องกันโรคต่อมลูกหมากโต

ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีป้องกันภาวะการเกิดต่อมลูกหมากโต เพราะยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดว่าโรคนี้เกิดจากอะไร แต่ที่ทำได้คือการป้องกันไม่ให้อาการของโรคแย่ลงไปกว่าเดิม

สรุป โรคต่อมลูกหมากโตเป็นภาวะไม่รุนแรงและมีทางรักษาให้หายได้ หากมีอาการเล็กน้อย แนะนำให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยไม่ต้องใช้ยา ถ้ามีอาการมากขึ้นแพทย์จะแนะนำให้กินยาเพื่อช่วยให้ถ่ายปัสสาวะได้คล่องขึ้น แต่ถ้าใช้ยาไม่ได้ผล ปัสสาวะไม่ออก หรือมีอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ แพทย์จะทำการรักษาด้วยการผ่าตัดซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายวิธี โรคนี้ถ้าปล่อยไว้ไม่รักษาก็อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอันตรายร้ายแรงได้ ดังนั้นผู้ชายที่สูงอายุ ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจต่อมลูกหมากเป็นประจำทุกปี หรือเมื่อมีอาการปัสสาวะผิดปกติก็ควรรีบไปปรึกษาแพทย์เช่นกัน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนและรักษาได้อย่างมีประสิทธิผลสูงสุด และที่สำคัญก็คืออย่าหลงเชื่อคำโฆษณาที่บอกว่ามียารักษาโรคนี้ได้หายเด็ดขาด หรือโฆษณาว่าวิธีนั้นวิธีนี้ดีที่สุด

 

เอกสารอ้างอิง
  1. หนังสือตำราการตรวจรักษาโรคทั่วไป 2.  “ต่อมลูกหมากโต (Benign prostatic hyperplasia /BPH)”.  (นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ).  หน้า 865-867.
  2. ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล.  “ต่อมลูกหมากโต”.  (รศ.นพ.อนุพันธ์ ตันติวงศ์).  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : www.si.mahidol.ac.th.  [29 เม.ย. 2016].
  3. มูลนิธิหมอชาวบ้าน. นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 282 คอลัมน์ : เรื่องเด่นจากปก.  (ศ. นพ.กฤษฎา รัตนโอฬาร).  “ต่อมลูกหมากโตโรคของความเสื่อมในชายสูงอายุ (เกือบทุกคน)”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : www.doctor.or.th.  [29 เม.ย. 2016].

ภาพประกอบ : perthurologyclinic.com.au, visuals.nci.nih.gov (National Cancer Institute), urology.jhu.edu, www.katelarisurology.com.au

ขอบคุณ https://medthai.com/%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1..

https://web.ku.ac.th/schoolnet/snet4/anatomy/man.htm

https://www.bumrungrad.com/th/urology-prostate-bladder-center-bangkok-thailand/condition/bph-benign-prostatic-hyperplasia

59 comments

vavada казино vavada online casino or vavada казино
https://www.google.com.gi/url?sa=t&url=https://vavada.auction казино вавада
vavada казино вавада рабочее зеркало and вавада казино вавада зеркало

казино вавада: вавада – vavada online casino

Mifepristone is more effective when another medication, such as misoprostol Cytotec , is taken 24 to 48 hours later.
More offers at is it safe to take expired sildenafil after comparing multiple offers
Siegler 2003 , “The Economic Effects of the 1918 Influenza Epidemic”, CEPR Discussion Paper, no.

One of the greatest challenges for people with COPD is learning to continue leading an active life in spite of the difficulties breathing.
Choose a pharmacy with good customer service to sildenafil citrate 50mg .Place them now!
Flu is a virus, and antibiotics are only effective in treating bacterial infections.

But to get back to our original question: Call us crazy, but for a definitive visual for Game of Thrones Season Seven, we’d rewind a few minutes to Jaime’s departure from his life in King’s Landing. As he rides away from the city, snow begins to fall, soon covering the familiar red roofs and imposing towers of the capital. The weather has proven his wisdom. Jon and Dany, Sansa and Arya, Tyrion and his big brother, even the freaking Hound, who spent most of the entire season bumping into people who once tried to kill him – everyone put aside their differences for the greater good. Yes, she’s gotten some of the strategy help from her brother Jaime, but after seasons of seeing characters like Tyrion and Tywin mention her lack of self awareness when it comes to her cleverness in Westerosi politics, all of her wins this season don’t feel quite right. 
https://direct-wiki.win/index.php?title=Counting_games_online
Agent Stickman has the new mission, which full of dangers, like always. He must … Stickman Running : Run Game Story In order to ask a question you need to log in or register as a user for free. PUBG Mobile x Squid Game collaboration to bring a new game mode For the best gaming experience Snake Run Race・3D Running Game Free stickman physics game vs. average for the Games category, $, by region Important note: If you really love playing games. Please support game developers and buy atleast one small game package. Please wait while we process your submission… With the money and experience you earn, you can unlock new elements for your character, although it has to be said that Stick Run doesn’t offer a lot of rewards. You really need to do a lot of races to get any upgrades.

legitimate online pharmacy list: allegra at kaiser pharmacy – lortab online pharmacy no prescription

no rx needed pharmacy: overseas pharmacies – pharmacy vardenafil
https://pharm24on.com/# european pharmacy org buy strattera online
stromectol online pharmacy zoloft pharmacy prices propecia pharmacy direct

https://onlineph24.com/# kaiser permanente online pharmacy
tamiflu pharmacy coupons