สุขภาพ-ชีวิต » คนแพ้”กุ้ง”..มีจริงๆเหรอ?

คนแพ้”กุ้ง”..มีจริงๆเหรอ?

21 พฤศจิกายน 2017
3057   0

อ่านฉบับ PC ได้ที่: www.ubmthai.com

อาการแพ้
ส่วนใหญ่ผู้ที่มีอาการแพ้อาหารทะเลหรือกุ้งนั้นจะมีอาการแพ้ภายใน 1-2 ชั่วโมงหลังจากรับประทานอาหาร ซึ่งอาการที่สังเกตุได้คือ เป็นผื่นขึ้นตามตัวคล้ายลมพิษ มีอาการคัน  ปากบวม  คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย หากมีอาการแพ้มากจะมีอาการหายใจไม่ออก หรือหากอาการรุนแรงมากถึงขั้นช็อก หมดสติ และเสียชีวิตได้

 

อาการแพ้กุ้ง คือ หนึ่งในกลุ่มอาการแพ้อาหาร(food allergy) มีสาเหตุจากสารในอาหาร(Antigen) หรือสารที่เกิดขึ้นจากกระบวนการย่อยอาหาร(breakdown product) กระตุ้นเซลล์เม็ดเลือดขาวให้สร้างภูมิคุ้มกัน(Antibody) ขึ้นมาต่อต้าน อาการแพ้จึงปรากฏให้เห็น


เนื่องจากในกุ้งมีสารก่อภูมิแพ้ คือ โปรตีนฮีโมไซยานินพบในกุ้งก้ามกราม ซึ่งเป็นกุ้งน้ำจืดและสารโปรตีนลิพิด บายดิง, โปรตีน แอลฟาแอกตินิน ในกุ้งกุลาดำที่เป็นกุ้งทะเล


อย่างไรก็ตามสำหรับบางกรณีอาจเป็นการแพ้สัตว์ที่มีเปลือกแข็งซึ่งมีสารไคตินเป็นกอบเป็นเปลือก เช่นกุ้ง ปู เป็นต้น เมื่อกินกุ้งเข้าไปจึงเข้าใจว่าเป็นการแพ้กุ้งเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

อาการแพ้จะแสดงออกใน 3 ระบบ ดังนี้

1.ระบบผิวหนัง เช่น มีผื่นขึ้น
2.ระบบทางเดินอาหาร เช่น คลื่นไส้ อาเจียน อุจจาระร่วง
3.ระบบทางเดินหายใจ เช่น หอบหืด บางรายมีอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต

อย่างไรก็ตาม มีบางกรณีที่บางคนอาจจะไม่เคยมีอาการแพ้กุ้งมาก่อนเลย แต่มาปรากฎอาการเมื่อตอนที่อายุเพิ่มมากขึ้น กรณีนี้ก็สามารถเกิดขึ้นได้เช่นเดียวกัน ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญหลายๆ ท่านได้ตั้งข้อสังเกตว่า อาการแพ้ที่เกิดจากภูมิคุ้มกันภายในร่างกายบกพร่องอาจมีสาเหตุมาจากการทำงานหนัก กินอาหารไม่ถูกสัดส่วน พักผ่อนไม่เพียงพอ หรือหลายปัจจัยร่วมกัน

ในการทำโครงการวิจัยเกี่ยวกับเรื่องการแพ้กุ้งนี้ มีผลสรุปว่า กุ้งน้ำจืดที่ทำให้เกิดอาการแพ้มากที่สุด คือ กุ้งก้ามกราม ส่วนกุ้งทะเลที่ก่อให้เกิดการแพ้ คือ กุ้งกุลาดำ ทั้งนี้อาการแพ้อาจเกิดจากกุ้งเพียงชนิดเดียว หรือมากกว่า 1 ชนิด

มีการนำตัวอย่างเลือดของอาสาสมัครที่แพ้กุ้งมาทดสอบและวิเคราะห์หาสารก่อภูมิแพ้ จึงค้นพบว่า สารก่อภูมิแพ้ที่จำเพาะต่อคนไทยในกุ้งก้ามกราม คือ โปรตีนฮีโมไซยานิน ส่วนสารก่อภูมิแพ้ในกุ้งกุลาดำ คือ โปรตีนลิพิด บายดิง (lipid binding protein) และโปรตีนแอลฟาแอกตินิน(alpha actinin protein)

 

ข้อควรปฏิบัติ
– เมื่อเกิดอาการแพ้แล้วมีอาการคัน ให้ใช้ยาทาแก้คันทาเพื่อบรรเทาอาการ เช่น คาลาไมด์
– การสังเกตุอาการ หากภายใน 5-10 นาที อาการไม่ดีขึ้นควรรีบพบแพทย์ทันที

การรักษาด้วยยานั้นเป็นเพียงการรักษาตามอาการเท่านั้นหากทราบว่าตนเองแพ้อาหารชนิดใดควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารชนิดนั้นดีที่สุดเพื่อความปลอดภัยและป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดจากอาการแพ้ได้

ขอขอบคุณข้อมูลจาก :
www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=2912&sub_id=98&ref_main_id=4

ขอขอบคุณภาพประกอบจาก :
www.siamfishing.com/content/view.php?nid=70452&cat=recipe
www.facebook.com/pages/ชมรมตกกุ้งก้ามกราม-บางน้อย-Club