คนทำเว็บ » คืนนี้(5/5/2018)..ชม+ถ่ายภาพฝนดาวตกอีต้า-อควอริดส์ หลังเที่ยงคืน..

คืนนี้(5/5/2018)..ชม+ถ่ายภาพฝนดาวตกอีต้า-อควอริดส์ หลังเที่ยงคืน..

5 พฤษภาคม 2018
1486   0

http://bit.ly/2KCu7tV

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ชวนชมฝนดาวตกอีต้า-อควอริดส์ หลังเที่ยงคืนวันที่ 5 พฤษภาคม จนถึงรุ่งเช้าวันที่ 6 พฤษภาคม..

วันที่ 4 พฤษภาคม 2561 เฟซบุ๊ก สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ได้โพสต์ชวนชมฝนดาวตกอีต้า-อควอริดส์ หลังเที่ยงคืนวันที่ 5 พฤษภาคม ตั้งแต่เวลาประมาณ 03.00 น. เป็นต้นไป จนถึงรุ่งเช้าวันที่ 6 พฤษภาคม ซึ่งมีอัตราการตก 50 ดวงต่อชั่วโมง ศูนย์กลางการกระจายอยู่บริเวณกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ แต่อาจมองเห็นได้ยากเนื่องจากมีแสงจันทร์รบกวน

 

ปฏิทินดาราศาสตร์ : วันเสาร์ที่ 5 พฤษภาคม 2561
03.31 น. ดวงจันทร์อยู่ใกล้ดาวเสาร์ 1.2 องศา
14.00 น. ฝนดาวตกอีต้า-อควอริดส์ อัตราการตก 50 ดวงต่อชั่วโมง **มีแสงจันทร์รบกวน**

สังเกตได้ทางทิศตะวันออก หลังเที่ยงคืนวันที่ 5 พ.ค. ตั้งแต่เวลาประมาณ 03.00 น. เป็นต้นไป จนถึงรุ่งเช้าวันที่ 6 พ.ค. 61 มีศูนย์กลางการกระจาย (Radiant) อยู่บริเวณกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ แต่อาจมองเห็นได้ยากเนื่องจากมีแสงจันทร์รบกวน

สำหรับ ฝนดาวตกอีต้า-อควอริดส์ จะเกิดในช่วงต้นเดือนพฤษภาคมของทุกปี เกิดจากโลกเคลื่อนที่เข้าตัดกับกระแสธารของเศษหินและเศษฝุ่นขนาดน้อยใหญ่ที่ดาวหางฮัลเลย์ (1P/Halley) ทิ้งไว้ในขณะเคลื่อนผ่านเข้ามาในระบบสุริยะชั้นใน เมื่อโลกโคจรผ่านเส้นทางดังกล่าว สายธารของเศษหินและฝุ่นของดาวหางจะถูกแรงดึงดูดของโลกดึงเข้ามาเผาไหม้ในชั้นบรรยากาศโลกเกิดเป็นลำแสงวาบ หรือในบางครั้งเกิดเป็นลูกไฟที่มีสีสวยงาม (fireball)