เลี้ยงสัตว์ » โรคปากเปื่อยพุพองในแพะ-สแค๊บบี้เม้าส์ (Scabby mouth)

โรคปากเปื่อยพุพองในแพะ-สแค๊บบี้เม้าส์ (Scabby mouth)

16 กรกฎาคม 2018
1433   0

http://bit.ly/2Nfl1Ur

 

โรคปากเปื่อยพุพองในแพะ (Contagious Ecthyma)

โรคนี้มีหลายชื่อ บางครั้งเรียกว่า สแค๊บบี้เม้าส์ (Scabby mouth) เกิดจากเชื้อไวรัสซึ่งมีความทนทานมาก สามารถมีชีวิตอยู่ที่สะเก็ดแผลได้นานหลายปี (อาจนานถึง 12 ปี)

สาเหตุ

เกิดจากการติดเชื้อ Epithilitrophic Parapoxvirus หรือ Orf virus ที่ปนเปื้อนอยู่ตามคอกผ่านทางบาดแผล โดยไวรัสจะเพิ่มจำนวนในเซลล์ Keratinocytes ในชั้นใต้ผิวหนัง

ความชุกของการเกิดโรคในฝูงที่มีการติดเชื้อครั้งแรกจะสูงถึง 90 เปอร์เซ็นต์ โดยมีอัตราการป่วยถึง 100% แต่อัตราการตายน้อยพบแค่ 20% เท่านั้น ความสำคัญของโรคอยู่ที่เชื้อคงอยู่ในสะเก็ดแผลที่ร่วงหลุดอยู่ในคอกได้เป็นเวลานาน

อาการของโรค
..เริ่มมีเม็ดตุ่มบวมแดง ลักษณะคล้ายผื่นลมพิษหรือฝีดาษที่ริมฝีปากและเหงือก แต่อาจจะพบเป็นที่เต้านมและบริเวณหนังอ่อนรอบทวารหนัก ต่อมาเม็ดตุ่มจะแตก มีน้ำเหลือง กลายเป็นสะเก็ดสีคล้ำคลุมแผล ระยะฟักตัวของโรค 3-8 วัน
ในลูกแพะจะเกิดวิการที่เหงือกบริเวณฟันน้ำนม ทำให้เจ็บเหงือกไม่อยากดูดนมแม่ และเมื่อลูกที่เป็นโรคดูดนมแม่ แม่ก็จะได้รับเชื้อไวรัสเข้าสู่เต้านมทำให้เต้านมอักเสบรุนแรงโดยอาจมีเชื้อหนอง เช่น Corynebacterium pyogenes หรือ Staphylococi เข้าแทรกด้วย โรคนี้จะมีผลเสียหายมาก เมื่อเกิดระหว่างฤดูกาลคลอดลูกแพะ เพราะโรคนี้ทำให้ลูกแพะไม่ดูดนมเนื่องจากเจ็บเหงือก หรือแม่ติดเชื้อเป็นโรคเต้านมอักเสบ น้ำนมลดเป็นเหตุให้ลูกแพะขาดน้ำนม ไม่แข็งแรงและอาจป่วยถึงตายได้ เนื่องจากขาดอาหาร (Starvation or Hypoglycemia) นอกจากปัญหาดังกล่าวนี้แล้วโรคนี้แทบไม่มีความสำคัญอะไรเลย

 


การรักษา

รักษาโดยการลอกสะเก็ดออกทำความสะอาดแผลด้วย ยาฆ่าเชื้อ เช่น ไฮโดรเย่นเปอร์ออกไซด์ แล้วทาด้วยยาสีม่วงเจนเชียนไวโอเลต หรือยาสมานแผล ถ้าให้ยาปฏิชีวนะร่วมด้วยจะทำให้แผลหายเร็วขึ้น(บางรายใช้น้ำมะขามเปียกผสมน้ำทาเช้า-เย็น ก็ได้ผลดี)

การรักษาควรใช้ยาทาเฉพาะที่ร่วมกับยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาภาวะติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำซ้อน ไม่ควรลอกเอาสะเก็ดออกเนื่องจากจะทําให้แผลหายช้า เกิดแผลเป็นและผู้ที่สัมผัสสะเก็ดอาจติดเชื้อได้ ดังนั้นผู้ที่ใกล้ชิดกับแพะป่วยต้อง ป้องกันตนเองโดยการสวมถุงมือทุกครั้งก่อนทำการสัมผัสหรือทำการรักษาแพะป่วย ในกรณีที่สัตว์ติดเชื้อไม่สามารถกินได้ควรช่วยป้อนอาหาร หรือให้อาหารที่อ่อนนุ่ม น่ากิน สัตว์ที่หายจากโรคจะมีภูมิคุ้มกันโรคอย่างน้อย 1 ปี..

การควบคุมและป้องกันโรค

ทำได้โดยการทำวัคซีนเชื้อเป็นที่ถูกทําให้อ่อนกําลังลงที่มีขายในท้องตลาด ทำทั้งในแม่ก่อนคลอด 2 เดือน และลูกแพะโดยทำครั้งแรกที่อายุ 1 เดือน และกระตุ้นซ้ำตอนอายุ 2-3 เดือน แผลหรือจากการเพาะเลี้ยง วัคซีนจะช่วยลดระยะเวลาและความรุนแรงของอาการ วัคซีนนี้สามารถก่อโรค ในสัตว์และคน ดังนั้นจึงควรทําวัคซีนเฉพาะฝูงที่เคยมีประวัติการเกิดโรค เพื่อไม่ให้เกิดโรคในช่วงที่เลี้ยงลูกและทําซ้ำทุกปี

การผลิตวัคซีนชนิด Autogenous ทำได้โดยการเอาสะเก็ดแผลจำนวน 2-3 กรัม มาผสมในน้ำเกลือและบดให้ละเอียด หยดยาปฏิชีวนะเช่น penicillin หรือ streptomycin ลงไปในส่วนผสม เพื่อควบคุมเชื้อแบคทีเรีย (Bath et al. /2005)

การทำวัคซีนให้ขูดบริเวณที่ไม่มีขน เช่น ต้นขา ด้านใน ด้านในของใบหู ด้านใต้ของหาง และจะเกิดขึ้นบริเวณรอยขูดหลังจากทําวัคซีน 5-10 วัน ซึ่งจะถือว่าการทําวัคซีนประสบความสําเร็จ ระดับภูมิคุ้มกันจึงจะสูงพอที่จะป้องกันโรคได้หลังจากทํา วัคซีนอย่างน้อย 2-3 สัปดาห์

การจัดการอื่นๆ ที่มีส่วนในการป้องกันและควบคุมโรค คือ การแยกสัตว์ที่ ติดเชื้อออกจากฝูงเพื่อป้องกันการติดต่อของเชื้อไปยังสัตว์ตัวอื่น การลดโอกาสที่จะเกิดแผลบริเวณปาก

ความสำคัญทางสาธารณสุข

โรคนี้เป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน โดยคนจะติดต่อโรคนี้ได้จากการสัมผัสสัตว์ที่ติดเชื้อหรือสัตว์ที่เพิ่งได้รับวัคซีน รวมทั้งการสัมผัสวัคซีนโดยตรง ดังนั้นผู้ที่สัมผัสสัตว์ป่วยหรือจะทําวัคซีนให้กับสัตว์ ควรใส่ ถุงมือเพื่อป้องกันการติดเชื้อ และล้างมือทันทีหลังการสัมผัส

คนที่ติดเชื้อมักจะเกิดที่นิ้ว มือ แขน หน้า และอวัยวะเพศชาย จะเริ่มพบได้หลังสัมผัสเชื้อ 3-7 วัน หากไม่มีการติดเชื้อแทรกซ้อนจะสามารถหายได้เองภายใน 2-4 สัปดาห์ โดยที่ไม่มีแผลเป็น อย่างไรก็ ตามยังไม่พบการติดต่อของโรคจากคนสู่คน

ขอบคุณ https://108kaset.com/farm