การเรียน » โทษตามกฎหมายในความผิดฐานทำให้ผู้อื่นถึงแก่ชีวิต

โทษตามกฎหมายในความผิดฐานทำให้ผู้อื่นถึงแก่ชีวิต

18 ธันวาคม 2019
1375   0

จากข่าวช่วงนี้เกี่ยวกับฆาตกรต่อเนื่อง “สมคิด พุ่มพวง” นั้นถือว่าเป็นข่าวดังมิใช่น้อยเลยนะครับ แต่เอ…เคยสงสัยกันบ้างมั้ยครับว่าการทำให้ผู้อื่นถึงแก่ชีวิต กฎหมายอาญาบัญญัติโทษไว้ว่าอย่างไรบ้าง วันนี้โป๊ะเชะดอทคอมได้รวบรวมข้อมูลมาให้สำหรับน้องๆ นักเรียน นักศึกษา หรือผู้ที่สนใจได้ศึกษากันครับ

โทษเกี่ยวกับความผิดฐานทำให้ผู้อื่นถึงแก่ชีวิตนั้นถูกบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา ลักษณะที่ 10 หมวดที่ 1 ครับ โดยมีเนื้อความดังนี้

ลักษณะ 10 ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย หมวด 1 ความผิดต่อชีวิต

  • มาตรา 288 ผู้ใดฆ่าผู้อื่น ต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุก ตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี
  • มาตรา 289 ผู้ใด
    (1) ฆ่าบุพการี
    (2) ฆ่าเจ้าพนักงาน ซึ่งกระทำการตามหน้าที่ หรือเพราะเหตุ ที่จะกระทำ หรือได้กระทำการตามหน้าที่
    (3) ฆ่าผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงานในการที่เจ้าพนักงานนั้นกระทำ ตามหน้าที่ หรือเพราะเหตุที่บุคคลนั้นจะช่วยหรือได้ช่วยเจ้าพนักงาน ดังกล่าวแล้ว
    (4) ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
    (5) ฆ่าผู้อื่นโดยทรมานหรือโดยกระทำทารุณโหดร้าย
    (6) ฆ่าผู้อื่นเพื่อตระเตรียมการ หรือเพื่อความสะดวกในการ ที่จะกระทำความผิดอย่างอื่น หรือ
    (7) ฆ่าผู้อื่นเพื่อจะเอาหรือเอาไว้ซึ่งผลประโยชน์อันเกิดแต่การที่ ตนได้กระทำความผิดอื่น เพื่อปกปิดความผิดอื่นของตนหรือเพื่อ หลีกเลี่ยงให้พ้นอาญาในความผิดที่ตนได้กระทำไว้
    ต้องระวางโทษ ประหารชีวิต
  • มาตรา 290 ผู้ใดมิได้มีเจตนาฆ่า แต่ทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้นั้น ถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี
    ถ้าความผิดนั้นมีลักษณะประการหนึ่งประการใดดังที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 289 ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงยี่สิบปี
  • มาตรา 291 ผู้ใดกระทำโดยประมาท และการกระทำนั้นเป็นเหตุ ให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกิน สองหมื่นบาท
  • มาตรา 292 ผู้ใดกระทำด้วยการปฏิบัติอันทารุณ หรือด้วยปัจจัย คล้ายคลึงกันแก่บุคคลซึ่งต้องพึ่งตน ในการดำรงชีพหรือในการอื่นใด เพื่อให้บุคคลฆ่าตนเอง ถ้าการฆ่าตนเองนั้นได้เกิดขึ้นหรือได้มีการ พยายามฆ่าตนเอง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี และปรับไม่เกิน หนึ่งหมื่นสี่พันบาท
  • มาตรา 293 ผู้ใดช่วยหรือยุยงเด็กอายุยังไม่เกินสิบหกปี หรือผู้ซึ่งไม่ สามารถเข้าใจว่าการกระทำของตนมีสภาพหรือสารสำคัญอย่างไร หรือไม่ สามารถบังคับการกระทำของตนได้ ให้ฆ่าตนเอง ถ้าการฆ่าตนเองนั้นได้ เกิดขึ้นหรือได้มีการพยายามฆ่าตนเอง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • มาตรา 294 ผู้ใดเข้าร่วมในการชุลมุนต่อสู้ระหว่างบุคคลตั้งแต่สามคน ขึ้นไป และบุคคลหนึ่งบุคคลใดไม่ว่าจะเป็นผู้เข้าร่วมในการนั้นหรือไม่ ถึงแก่ความตายโดยการกระทำในการชุลมุนต่อสู้นั้น ต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
    ถ้าผู้ที่เข้าร่วมในการชุลมุนต่อสู้นั้นแสดงได้ว่า ได้กระทำไปเพื่อห้ามการ ชุลมุนต่อสู้นั้น หรือเพื่อป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ

ที่มา ประมวลกฎหมายอาญา ฉบับ พ.ศ.2558

เป็นยังไงกันบ้างครับสำหรับความรู้ในวันนี้ หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ให้กับเพื่อนๆ พี่ๆ และน้องๆ หลายๆท่านน้าาาาา สำหรับวันนี้ขอตัวลาไปก่อน สวัสดีครับ ^^