รู้ไว้ได้ประโยชน์ » ทำไมค้างคาวถึงเป็นพาหะของโรคหลายชนิด?

ทำไมค้างคาวถึงเป็นพาหะของโรคหลายชนิด?

30 มีนาคม 2020
1083   0

เกริ่นนำ

นิปาห์(โรคสมองอักเสบ), เฮนดรา(โรคติดเชื้อ), อีโบลา(หรือไข้เลือดออกอีโบลา), มาร์บูร์ก(โรคติดเชื้อไวรัสเฉียบพลัน) และซาร์(หวัดมรณะ) ทั้งหมดนี้คือชื่อของไวรัสที่โลกต่างก็หวาดกลัว ไข้เลือดออกอีโบลานั้นเป็นหนึ่งในโรคที่ร้ายแรงถึงตายโดยที่ผู้ป่วยที่ติดเชื้อมีอัตราการอยู่รอดที่ 10% (พูดง่ายๆก็เสียชีวิต 90% นั่นเอง) ขณะที่โรคซาร์หรือไข้หวัดมรณะ(ซึ่งเกิดจากโคโรนาไวรัส) มีอัตราการเสียชีวิตน้อยกว่าแต่กลับสามารถแพร่กระจายได้เร็วกว่ามากเชื้อโรคร้ายเหล่านี้ได้เผชิญหน้ากับมนุษย์เมื่อ 50 ปีที่แล้วและยังมาจากแหล่งพาหะเดียวกันนั่นคือ “ค้างคาว”

เคลียร์กันให้ชัดเจนก่อนเลยนะครับ จริงๆมันก็ไม่ใช่ความผิดของค้างคาวหรอกนะ แต่มันเกิดจากการที่สัตว์เลี้ยงหรือมนุษย์เองต่างหากที่เข้าไปยังเขตของพวกมัน ยกตัวอย่างเช่น ในมาเลเซียมีการขยายการทำฟาร์มหมูไปยังถิ่นที่อยู่อาศัยของค้างคาว(ซึ่งอยู่ในป่า) เชื้อจากค้างคาวนั้นได้แพร่ไปยังหมูก่อนแล้วส่งต่อมายังคน ซึ่งเชื้อนี้รู้จักกันในชื่อ นิปาห์(Nipah) และในออสเตรเลีย กรณีของโรคเฮนดราก็ถือกำเนิดขึ้นจากการทำลายป่าซึ่งเป็นแหล่งอาหารของค้างคาวเพื่อสร้างชุมชนชานเมือง แต่สงสัยกันไหมครับว่าทำไม ค้างคาวถึงเป็นพาหะของโรคมากกว่าสัตว์ชนิดอื่น(ที่มีอยู่ตั้งมากมาย) กันนะ?

เหตุผล

เหตุผลแรกซึ่งเป็นข้อแตกต่างที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือ ค้างคาวรักการอยู่กันเป็นฝูงซึ่งมีจำนวณมากกว่าสัตว์หลายชนิด และอาศัยอยู่ด้วยกันอย่างใกล้ชิด ทำให้ไวรัสแพร่กระจายสู่กันได้ง่าย(ไม่ได้สะสมอยู่แค่ตัวใดตัวหนึ่ง)และยังสามารถแพร่กระจายผ่านสปีชีส์ได้ด้วย

ยังไม่จบ! ค้างคาวที่ติดเชื้อนั้นไม่ตายแต่กลับใช้ชีวิตปกติเหมือนค้างคาวทั่วไปและยังดุ๊กดิ๊กไปมา(คือ…ผมหมายถึงบินน่ะครับ)แล้วแพร่กระจายเชื้อสู่เพื่อนๆของมัน การบินอาจจะเป็นเหตุผลที่ทำให้ค้างคาวสามารถยืดหยุ่นต่อการติดเชื้อได้(หมายถึงปรับตัวให้เข้ากันนั่นเอง) กฎมีอยู่ว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมนั้นจะไม่สามารถสร้างพลังงานเพื่อใช้ในการบินขณะที่ยังต้องต่อสู้กับของเสีย(ไวรัส)ที่ทำลาย DNA (สารพันธุกรรม)ไปด้วยพร้อมๆกัน ดังนั้นเมื่อค้างคาวยังต้องการบินอยู่นั้นจึงพัฒนาความสามารถในการต่อต้านสารต่างๆที่ไม่ดีเพื่อซ่อมแซมสารพันธุกรรมของตัวเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเซลล์ที่สามารถต่อต้านไวรัสได้!

ด้วยเหตุนี้ค้างคาวจึงสามารถอยูารอดจากไวรัสตัวฉกาจได้โดยไม่ม่องเท่งไปซะก่อน แต่สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าคือไวรัสอยู่รอดในค้างคาวได้อย่างไร?

เนื่องด้วยไวรัสเป็นสิ่งมีชีวิตที่จู้จี้จุกจิก ไวรัสทั่วไปจะอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับอุณหภูมิปกติของมันเท่านั้น(ประมาณ 37 องศาเซลเซียส) และข้อเท็จจริงมีอยู่ว่า เมื่อค้างคาวกำลังบินอยู่นั้นจะทำให้อุณหภูมิภายในร่างกายสูงขึ้นเป็น 40 องศาเซลเซียสซึ่งเป็นสิ่งเลวร้ายต่อไวรัสทั่วๆไป แต่! ไม่รวมถึงไวรัสบางจำพวกที่เป็นสายพันธุ์ถึกทนโดยสามารถทนทานต่อสภาพแวดล้อมเช่นนี้ได้ หมายความว่ามันจะยังสามารถอาศัยอยู่ในตัวของมนุษย์ที่เป็นไข้(อุณหภูมิสูงขึ้น) และโดยเฉพาะการบินของค้างคาวซึ่งช่วยฝึกฝนให้ไวรัสให้แกร่งขึ้นต่อภูมิต้านทานไวรัสของมนุษย์!!………….Hmmm Stupid flying


บางทีเราอาจจะต้องถามเคล็ดลับของพี่แบทแมนเขานะ!!

ส่งท้าย

แล้วเราควรทำอย่างไรหล่ะ? เราต่างก็ต้องการค้างคาวในการควบคุมประชากรแมลงและการผสมเกสรดอกไม้และ
เรื่องอื่นๆอีกมากมาย….บางทีเราอาจจะต้องเรียนรู้ระบบภูมิคุ้มกันสุดเจ๋งของค้าวคาวก็เป็นได้

source

chanchaivision.com
siphhospital.com
eidas.vet.chula.ac.th
cfsph.iastate.edu
si.mahidol.ac.th
minuteearth (youtube)

เตือน! นิปาห์ไวรัส “โรคติดต่อระหว่างสัตว์สู่คน” ไม่มียา ไม่มีวัคซีนป้องกัน