สุขภาพ-ชีวิต » ?? ยืนยัน ฉีดยาฆ่าเชื้อโรคโควิด19 ใส่คน-สถานที่ จะไม่เกิดประโยชน์ แถมทำเชื้อฟุ้งกระจาย

?? ยืนยัน ฉีดยาฆ่าเชื้อโรคโควิด19 ใส่คน-สถานที่ จะไม่เกิดประโยชน์ แถมทำเชื้อฟุ้งกระจาย

12 เมษายน 2020
941   0

?? ยืนยัน ฉีดยาฆ่าเชื้อโรคโควิด19 ใส่คน-สถานที่ จะไม่เกิดประโยชน์ แถมทำเชื้อฟุ้งกระจาย

สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย แถลงยืนยัน ฉีดยาฆ่าเชื้อ โรคโควิด 19 ใส่คน – สถานที่ หรือสร้างอุโมงค์ยูวี ไม่เกิดประโยชน์ แถมเสี่ยงอันตราย อาจะทำเชื้อฟุ้งกระจาย แนะ การป้องกันที่ถูกต้องคือรักษาระยะห่าง – ล้างมือบ่อย ๆ สวมหน้ากากอนามัย

11 เมษายน 2563 เฟซบุ๊ก Drama-addict ได้เผยแพร่คำแถลงของ สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย  เรื่อง การฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อลงบนตัวบุคคลหรือสถานที่ เพื่อทำลายเชื้อ SAR-CoV-2 (เชื้อที่เป็นสาเหตุของ COVID-19) โดยระบุเนื้อหาว่า ในขณะนี้ประเทศไทยมีผู้ป่วยโควิด ต่อเนื่องกันมาเป็นระยะเวลานานพอสมควร ด้วยความกังวลเรื่องของการปนเปื้อนเชื้อในสถานที่สาธารณะต่าง ๆ และที่พักอาศัย ตลอดจนในร่างกายของผู้ป่วย จึงเกิดการปฏิบัติที่หลากหลายด้วยความเข้าใจคลาดเคลื่อนว่าจะช่วยทำลายเชื้อ หรือลดความเสี่ยงต่อการติตเชื้อ เช่น การฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อบนร่างกายของบุคคลทั่วไป..

ทั้งในลักษณะของการสร้างอุโมงค์ให้เดินผ่านหรือเดินผ่านไปตามทางเดินปกติ การฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อบนถนนหรือสถานที่สาธารณะต่าง ๆ ตลอดจนภายในอาคารบ้านเรือนที่พักอาศัยหรือร้านค้า ทางสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย ขอเรียนชี้แจงว่า

            1. การฉีดพ่นทำลายเชื้อบนร่างกายของบุคคล ไม่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยต่อการติตเชื้อ

เนื่องจากหากบุคคลมีเชื้อไวรัสอยู่ เชื้อจะอยู่ที่ทางเดินหายใจ ซึ่งการพ่นยาฆ่าเชื้อในลักษณะดังกล่าว จะไม่สามารถทำลายเชื้อได้ นอกจากนี้ ยาฆ่าเชื้อยังอาจจะเป็นอันตรายต่อคนได้ จึงไม่ควรทำโดยเด็ดขาด การป้องกันการแพร่เชื้อที่ถูกต้อง คือการรักษาระยะห่างระหว่างบุคคล การใช้หน้ากากอนามัยอย่างถูกต้อง และการรักษาความสะอาดของมือ

            2. ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อหรืออบฆ่าเชื้อด้วยสารเคมีต่าง ๆ บนถนน สถานที่สาธารณะ หรืออาคารบ้านเรือนใดๆ ไม่ว่าในสถานที่นั้นจะมีผู้ป่วยโรคนี้หรือไม่

            การปฏิบัติดังกล่าว เป็นการสิ้นเปลืองโดยเปล่าประโยชน์ เพราะไม่ช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อแต่ประการใด นอกจากนี้หากในบริเวณนั้นมีเสมหะหรือสารคัดหลังจากทางเดินหายใจของผู้ป่วยที่ยังไม่แห้ง การฉีดพ่นน้ำยา อาจทำให้เชื้อฟุ้งกระจายขึ้นมาเป็นอันตรายได้ หากจะทำความสะอาดในกรณีที่มีผู้พักอาศัย หรือผู้ใช้บริการป่วยเป็นโรคนี้ แนะนำให้ใช้วิธีเช็ดตัวยน้ำยาฆ่าเชื้อ ซึ่งมีรายละเอียด สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่เว็บไชต์ สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย