เลี้ยงสัตว์ » ยอดฮิต 20 คำถาม ของเงินเยียวยาเกษตรกรที่ยังคาใจเกษตรกร

ยอดฮิต 20 คำถาม ของเงินเยียวยาเกษตรกรที่ยังคาใจเกษตรกร

27 พฤษภาคม 2020
1239   0

ยอดฮิต 20 คำถาม ของเงินเยียวยาเกษตรกรที่ยังคาใจเกษตรกร


26 พฤษภาคม 2563 นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้โพสต์ชี้แจงเกี่ยวกับข้อสงสัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเงินเยียวยาเกษตรกร ที่เพจเฟซบุ๊ก รัชดา ธนาดิเรก – รองโฆษกรัฐบาล โดยมีทั้งหมด 20 ข้อดังต่อไปนี้..

1. ในกรณีมีการอุทธรณ์ จะมีขั้นตอนอย่างไร

ตอบ : หลังจากเกษตรกรเข้ามาติดต่ออุทธรณ์ เจ้าหน้าที่รับเรื่องบันทึกข้อมูลลงในระบบ และจะมีการระบุหน่วยงานเจ้าของเรื่อง พร้อมรายละเอียด จากนั้นระบบจะทำการจำแนกข้อมูล ส่งให้หน่วยงานที่รับผิดชอบวิเคราะห์ข้อมูล หากข้อมูลที่อุทธรณ์มาสามารรถชี้แจงได้ หน่วยงานที่รับผิดชอบจะส่งข้อมูลให้คณะกรรมการรับเรื่องดำเนินการ จ่ายเงินเยียวยาต่อไป

2. สถานที่สําหรับไปขออุทธรณ์

ตอบ : มี 8 หน่วยงานที่เปิดให้ประชาชนสามารถไปยื่นอุทธรณ์ ได้แก่ 1. สำนักงานเกษตรอำเภอ 2. สำนักงานประมงอำเภอ 3. สำนักงานปศุสัตว์อำเภอ 4. สำนักงานหม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ หรือศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ ต่าง ๆ 5. สำนักงานบริหารอ้อย และน้ำตาลทราย ตามภูมิภาคต่าง ๆ 6. สำนักงานสรรพสามิตจังหวัด 7. การยางแห่งประเทศไทย ตามภูมิภาคต่าง ๆ 8. สำนักงานเกษตร และสหกรณ์จังหวัด

3. การจ่ายเงินเยียวยานี้จ่ายเป็นรายครอบครัวหรือรายบุคคล

ตอบ : เป็นรายบุคคลตามที่ขึ้นทะเบียนไว้กับหน่วยงานที่รับขึ้นทะเบียน เช่น กรมส่งเสริมการเกษตร กรมประมง กรมปศุสัตว์ เป็นต้น

4. แผนการดําเนินการการเยียวยาเกษตรกร เป็นอย่างไร

ตอบ : รวบรวมรายชื่อเกษตรกรที่เข้าเกณฑ์ “รอบแรก” ตัดยอด ณ 30 เมาายน 2563 “รอบสอง” 1 -15 พฤษภาคม 2563 หากการคัดกรองจากฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมด พบว่าไม่มีความซ้ำซ้อน กับสิทธิอื่น ๆ รอบแรกจะได้รับเงินช่วยเหลือ 5,000 บาทก่อนตั้งแต่ 15 พฤษภาคม 2563 รอบสอง จะได้รับ 5,000 บาทภายในสิ้นเดือน พฤษภาคม 2563

5. มีความประสงค์ที่จะแก้ไขข้อมูลบัญชีธนาคาร เพื่อรับเงินเยียวยาในกรณีที่ผ่านการพิจารณาต้องทำออย่างไร

ตอบ : สามารถติดต่อไปที่ ธ.ก.ส. สาขาที่สะดวก หรือ โทรสอบถามที่เบอร์ 0-2555-0555

6. หากไม่มีบัญชี ธ.ก.ส. ต้องทำอย่างไร

ตอบ : 1. ตรวจสอบรายละเอียดจาก www.เยียวยาเกษตรกร.com / 2. ติดต่อไปที่ ธ.ก.ส. สาขาที่สะดวก หรือ โทรสอบถามที่เบอร์ 0-2555-0555

7. ลูกหลานเกษตรกรที่ถูกปฏิเสธจากโครงการเราไม่ทิ้งกัน เนื่องจากเคยลงทะเบียนว่าเป็นเกษตรกร จะมีสิทธิรับเงินเยียวยาเกษตรกรนี้หรือไม่

ตอบ : มีสิทธิรับเงินเยียวยาเกษตรกร หากลูกหลานเกษตรกรผู้นั้นได้ขึ้นทะเบียนไว้กับหน่วยงานที่รับขึ้นทะเบียนตามโครงการของกระทรวงเกษตรฯ

8. เกษตรกรยังต้องการหลักฐานอะไรเพิ่มเติมหรือไม่ตอนรับเงิน หรือเงินจะเข้าบัญชีธนาคารของเกษตรกรโดยอัตโนมัติ

ตอบ : หากมีการแจ้งหมายเลข บัญชีธนาคาร ในเว็บไซต์ เยียวยาเกษตรกร ของ ธ.ก.ส. แล้ว หากได้รับสิทธิ์การเยียวยาเกษตรกร ก็ไม่จำเป็นต้องใช้หลักฐานใด ๆ เพิ่มเติม โดยเงินเยียวยาจะโอนเข้าสู่บัญชีนั้นโดยอัตโนมัติ ส่วนกรณีเกษตรกรเป็นลูกค้า ธ.ก.ส. มีบัญชีแล้ว แต่ไม่ได้เข้าไปยืนยันสิทธิ จะต้องสอบถามไปยังธนาคารเพิ่มเติมว่าต้องเข้าไปใส่ข้อมูลอีกหรือไม่

9. กรณีเกษตรกรที่ต้องสละสิทธิ อาทิ วุฒิสมาชิก จะต้องดําเนินการอย่างไร

ตอบ : สามารถทําหนังสือแจ้งมายังกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และช่องทางการขอสละสิทธิ์ทางเว็บไซต์ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่กำลังจะเปิดให้บริการเร็ว ๆ นี้

10. กรณีผู้รับจ้างกรีดยาง จะได้รับเงินเยียวยาหรือไม่

ตอบ : กรณีดังกล่าวจะได้รับเงินในรอบที่ 2 หากผู้รับจ้างกรีดยางผู้นั้น ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับหน่วยงานของการยางแห่งประเทศไทย (สกย.) โดยสามารถติดต่อสอบถามรายชื่อได้ที่หน่วยงาน สกย. ในพื้นที่

11. ครัวเรือนเกษตรกรมีสมาชิก 5 คน พ่อขึ้นทะเบียนเกษตรกร ลูกมีอาชีพเสริมเป็นหมอนวดรับเงินโครงการเราไม่ทิ้งกันแล้ว หัวหน้าครัวเรือนที่เป็นเกษตรกรจะได้รับเงินเยียวยาหรือไม่

ตอบ : หัวหน้าครัวเรือนจะได้รับสิทธิ์ เนื่องจากโครงการฯ จะให้สิทธิ์เยียวยาแก่เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียน ไว้กับหน่วยงานที่กําหนดไว้

12. กรณีพ่อขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมเกษตร (ด้านพืช) และลูกชายเลี้ยงโค 5 ตัว ไปขึ้นทะเบียนกับกรมปศุสัตว์ จะได้สิทธิ์เยียวยาหรือไม่

ตอบ : กรณีนี้ทั้งพ่อ และลูกชายจะได้สิทธิ์เยียวยา แต่ทั้งสองคนจะต้องไม่เคยได้รับสิทธิ์เยียวยาในโครงการเราไม่ทิ้งกัน และไม่เป็นผู้ได้รับบํานาญ ไม่เป็นผู้ได้สิทธิ์ประกันสังคม

13. เกษตรกรที่ได้เงินรอบแรกนี้มีหลักเกณฑ์อะไรในการพิจารณา รอบต่อไปใช้หลักเกณฑ์อะไร และจะได้เมื่อไร

ตอบ: หลักเกณฑ์ในการพิจารณาใช้อันเดียวกันคือ ต้องเป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนกับหน่วยงานที่กําหนด ต้องไม่ได้รับสิทธิ์เยียวยาในโครงการเราไม่ทิ้งกัน และไม่เป็นผู้ได้รับบํานาญ และไม่เป็นผู้ได้สิทธิ์ประกันสังคม โดยจะได้ในรอบแรกวันที่ 15 พฤษภาคม 2563

14. เกษตรกรที่ได้รับเงินเยียวยานี้แล้ว ยังมีสิทธิได้รับเงินชดเชยอื่น ๆ อีกหรือไม่ เช่น ชดเชยภัยแล้ง ชดเชยรายได้

ตอบ: เกษตรกรยังได้รับสิทธิเงินชดเชยอื่นได้ตามเงือนไขที่กําหนดเช่นเดิม

15. หัวหน้าครัวเรือนปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ มีสมาชิกในครัวเรือน ทํางานราชการ รับจ้าง เป็นพ่อค้าแม่ค้า จะมีสิทธิ์ได้รับเงินเยียวยาหรือไม่

ตอบ: หัวหน้าครัวเรือนรายนี้ยังมีสิทธิ์ได้รับเงินเยียวยา แต่ต้องไม่ได้รับสิทธิ์เยียวยาในโครงการ เราไม่ทิ้งกัน และไม่เป็นผู้ได้รับบํานาญ และไม่เป็นผู้ได้สิทธิ์ประกันสังคม

16. กรณีครัวเรือนเกษตรกร มีสมาชิกที่ได้รับเงินในโครงการเราไม่ทิ้งกันแล้ว หัวหน้าครัวเรือนที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรจะได้รับเงินเยียวยาหรือไม่

ตอบ: กรณีนี้ หัวหน้าครัวเรือนยังได้รับเงินเยียวยาหากตัวหัวหน้าครัวเรือนไม่ได้รับสิทธิ์เยียวยาในโครงการ เราไม่ทิ้งกัน และไม่เป็นผู้ได้รับบํานาญ และไม่เป็นผู้ได้สิทธิ์ประกันสังคม

17. กรณีกลุ่มที่ไปปรับปรุงทะเบียน หรือขึ้นทะเบียนใหม่ ไม่มีเอกสารสิทธิ จะได้รับเงินเยียวยาหรือไม่

ตอบ: สามารถไปติดต่อหน่วยงานที่รับขึ้นทะเบียน หากเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของหน่วยงาน จะได้รับสิทธิ์ทุกคน

18. กรณีโดนตัดสิทธิ เราไม่ทิ้งกัน เพราะเป็นหัวหน้าครัวเรือนเกษตรกร และกรณีสมาชิกที่ช่วยทําเกษตร เช็คแล้วไม่มีรายชื่อรับเงินเยียวยาเกษตร จะต้องทําอย่างไร

ตอบ: สามารถอุทธรณ์ตามช่องทางต่าง ๆ ของภาครัฐที่เกี่ยวข้องได้เลย

19. สถานภาพในทะเบียนเกษตรกร จะสิ้นสุดลงเมื่อใด

ตอบ:

1. เสียชีวิต
2. เป็นคนไร้ความสามารถ หรือ เสมือนไร้ความสามารถ
3. แจ้งยกเลิกประกอบการเกษตร
4. แจ้งข้อมูลอันเป็นเท็จในการขึ้นทะเบียนเกษตรกร

5. ไม่มีการปรับปรุงสถานภาพเลยติดต่อกันเป็นเวลา 3 ปี (เริ่มใช้ตั้งแต่ 23 มิถุนายน 2563 เป็นต้นไป และมีผลย้อนหลัง สําหรับผู้ไม่มาปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร ตั้งแต่ 23 มิถุนายน 2560)

20. การแจ้งข้อมูลเท็จ มีความผิดหรือไม่

ตอบ: การแจ้งข้อมูลเท็จในทะเบียนเกษตรกร ถือเป็นความผิดทางอาญา ตามมาตรา 137 และ มาตรา 267 แห่งประมวลกฎหมายอาญา.

ที่มา – https://108kaset.com/2020/05/27/covid-8/