เลี้ยงสัตว์ » ความเป็นมาและอำนาจหน้าที่ของสภาเกษตรกรแห่งชาติ

ความเป็นมาและอำนาจหน้าที่ของสภาเกษตรกรแห่งชาติ

13 มีนาคม 2021
1376   0

ความเป็นมาและอำนาจหน้าที่ของสภาเกษตรกรแห่งชาติ

สืบเนื่องจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 84(8) ประกอบมาตรา 303(1) ได้บัญญัติให้รัฐจัดทำกฎหมายว่าด้วยสภาเกษตรกรให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปี นับแต่วันที่ คณะรัฐมนตรีได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภา

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงได้มีคำสั่งแต่งตั้ง คณะกรรมการยกร่างกฎหมาย ว่าด้วยสภาเกษตรกร โดยมี ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายประพัฒน์  ปัญญาชาติรักษ์) เป็นประธานกรรมการ และผู้อำนวยการกองนิติการ (ขณะนั้น) เป็นกรรมการ และเลขานุการ เพื่อ ดำเนินการ ศึกษา และยกร่างกฎหมายว่าด้วยสภาเกษตรกร คณะกรรมการฯ ได้ยกร่างพระราชบัญญัติสภาเกษตรแห่งชาติ พ.ศ…. ซึ่งเป็นกฎหมาย ที่ให้หลักประกันสิทธิเสรีภาพในการคุ้มครอง รักษาผลประโยชน์เกี่ยวกับการผลิต และการตลาดเพื่อให้ผลิตผลทางการเกษตร ได้รับผลตอบแทนสูงสุด และมีสภาสำหรับเกษตรกร ในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ตลอดจนเสริมสร้างสมานฉันท์ ของเกษตรกรทั้งประเทศ ทำให้เกษตรกร มีความเข็มแข็ง และมีการรวมตัวกัน อย่างเป็นเอกภาพ โดยสร้างเครือข่ายเกษตรกร นอกจากนี้ เกษตรกรสามารถจัดทำแผนแม่บท เสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา กำหนดนโยบาย ให้สอดคล้องกับความต้องการ และสภาพปัญหาอันแท้จริง รวมทั้งให้เกษตรกรได้รับ การพัฒนา ส่งเสริมให้ได้รับความร ู้และข้อมูลเกี่ยวกับเกษตรกรรมด้านต่างๆในการนี้ ได้มีการนำร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ออกไปรับฟังความคิดเห็นจากเกษตรกร และผู้เกี่ยวข้องในพื้นที่ แต่ละภาค รวม 4 ภาค แล้วนำข้อมูลที่ได้ จากการรับฟังความคิดเห็น มาปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติฯ ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น และได้เสนอไปยัง สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อให้ดำเนินการ ตามกระบวนการตรากฎหมาย.. ฯ


สภาเกษตรกรแห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

  1. เสนอต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อกำหนดนโยบายการส่งเสริม และการพัฒนาความเข้มแข็งแก่เกษตรกร และองค์กรเกษตรกร ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง การผลิต การแปรรูป การตลาด และการคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม
  2. เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อกำหนดนโยบาย และแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาการทำการเกษตรแบบผสมผสาน ระบบวนเกษตร ระบบเกษตรธรรมชาติ ระบบไร่นาสวนผสม ระบบเกษตรอินทรีย์ และเกษตรกรรมรูปแบบอื่น
  3. ให้คำปรึกษาและข้อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีในการแก้ไขปัญหาของเกษตรกร การพัฒนาเกษตรกรรม รวมทั้งการอนุรักษ์ และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  4. เสนอแผนแม่บทต่อคณะรัฐมนตรี
  5. เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อกำหนดแนวทางการส่งเสริม และสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านพันธุธรรมพืช และสัตว์ท้องถิ่น ผลผลิตทางเกษตรกรรม และผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการแปรรูปผลผลิตทางเกษตรกรรม
  6. เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อกำหนดแนวทางการประกันความเสี่ยงของราคา และผลผลิตทางเกษตรกรรม รวมทั้งการกำหนดสวัสดิการให้แก่เกษตรกร
  7. เสริมสร้างคาวมร่วมมือ และประสานงานกับภาครัฐ และเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ และองค์กรระหว่างประเทศ เพื่อพัฒนาเกษตรกรรม
  8. พัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่เกษตรกร และองค์กรเกษตรกร
  9. ให้ความเห็นต่อนโยบาย กฎหมาย หรือข้อตกลงที่เกี่ยวข้อง และมีผลกระทบต่อเกษตรกร
  10. ให้คำปรึกษาและข้อแนะนำแก่เกษตรกร องค์กรเกษตรกร และตามที่สภาเกษตรกรจังหวัดเสนอ
  11. แต่งตั้งคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ คณะทำงาน หรือที่ปรึกษาตามความจำเป็น
  12. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสภาเกษตรกรแห่งชาติ หรือตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย

ขอบคุณ https://www.nfc.or.th/%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B5%..
https://www.nfc.or.th/%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B9..
https://www.google.com/search?client=firefox-b-d&q=%E0%B8%AA%E0..

ประชาชนสามารถตัด-ขาย-ปลูก“ไม้หวงห้าม158ชนิดและไม้หายาก 13 ชนิด”ในที่ดินกรรมสิทธิ์ได้(อัพเดท12/5/2019)