เลี้ยงสัตว์ » หญ้าแห้วหมู หรือ หญ้าขนหมู “ยาอายุวัฒนะของนานาชาติ” อย่าถอนทิ้ง

หญ้าแห้วหมู หรือ หญ้าขนหมู “ยาอายุวัฒนะของนานาชาติ” อย่าถอนทิ้ง

20 มีนาคม 2022
964   0

หญ้าแห้วหมู หรือ หญ้าขนหมู

หญ้าแห้วหมู หรือ หญ้าขนหมู “ยาอายุวัฒนะของนานาชาติ” อย่าถอนทิ้ง

แห้วหมู (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cyperus rotundus)

หรือเรียกอีกอย่างว่า หญ้าแห้วหมู หรือ หญ้าขนหมู

Species: C. rotundus
Family: Cyperaceae
Order: Poales
Kingdom: Plantae
Genus: Cyperus

ลักษณะพันธุ์

เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวในวงศ์กก เป็นพืชจำพวกไม้ล้มลุก ลำต้นอยู่ใต้ดิน มีลักษณะเป็นหัวกลม สั้น มีตาจำนวนมาก และสามารถแทงไหลไปได้ไกลแล้วเกิดหัวใหม่เจริญขึ้นต้นเหนือดิน

ใบของแห้วหมูเกิดที่ลำต้น ชิดแน่นโดยเป็นกาบใบหุ้มซ้อนม้วนทับกัน ชูขึ้นเหมือนลำต้นแล้วแผ่เป็นแผ่นใบแบนรูปแถบยาว ปลายแหลม กลางใบเป็นสันร่อง ผิวใบเรียบสีเขียวเข้ม กว้างประมาณ 0.5 เซนติเมตร ยาว 25 เซนติเมตร ดอกของแห้วหมูเกิดที่ปลายยอด ก้านช่อดอกเป็นรูปเหลี่ยมสีเขียวเข้มแทงขึ้นสูง ยาวประมาณ 30 เซนติเมตร แล้วแตกเป็นช่อย่อยอีกหลายช่อ ดอกย่อยสีน้ำตาลจำนวนมาก

ผลรูปขอบขนาน ปลายแหลมสีน้ำตาลหรือดำ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดหรือหัวใต้ดิน

ในไทยพบ 2 ชนิด คือ แห้วหมูใหญ่ และแห้วหมูเล็ก แตกต่างกันในเรื่องความสูงของต้น ดอก สังเกตง่ายๆคือแห้วหมูใหญ่มีดอกสีน้ำตาลแดง หัวมีรสเผ็ดร้อน ส่วนแห้วหมูเล็กดอกคล้ายดอกบานไม่รู้โรย สีขาว หัวมีรสหวานเย็นๆและเผ็ดเล็กน้อย

แต่สามารถนำมาใช้เป็นยาสมุนไพรได้ทั้ง 2 ชนิด โดยส่วนที่นำมาใช้ปรุง ได้แก่ ส่วนหัว ต้น ราก และใบ แต่ที่นิยมมากที่สุด คือส่วนหัว มีรายงานฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาว่ามีฤทธิ์ยับยั้งการหดเกร็งและการบีบตัวของลำไส้ ต้านเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา เชื้อมาลาเรีย เชื้อไวรัส แก้ไข้ แก้ปวด ต้านมะเร็ง แก้อาเจียน เป็นต้น

ปัญหาการเป็นวัชพืช
แห้วหมูจัดเป็นวัชพืชที่มีการกระจายพันธุ์สูงในเขตร้อน ทำให้ผลผลิตของพืชเศรษฐกิจลดลง เพราะสามารถแย่งอาหารในดินแล้วยังสร้างมีฤทธิ์ทางอัลลีโลพาที เป็นวัชพืชที่กำจัดยากเพราะมีหัวใต้ดิน และทนทานต่อสารกำจัดวัชพืช ไกลโฟเสตสามารถกำจัดแห้วหมูได้แต่ต้องใช้ซ้ำ

[อัลลีโลพาธี (Allelopathy) เป็นปรากฏการณ์ที่พืชชนิดหนึ่งปล่อยสารพิษออกไปทำอันตรายกับพืชที่อยู่ใกล้เคียง ซึ่งอาจทำให้พืชที่อยู่ใกล้ๆถึงตายได้
   พืชที่สร้างสารพิษมาเรียกว่าพืชผู้ปลดปล่อยสารพิษ (Donor plant) ผลกระทบของอัลลีโลพาธีมี 2 ระดับคือ..
1.ระดับปฐมภูมิ เกิดจากเศษซากพืชที่มีสารพิษถูกย่อยสลายหรือถูกน้ำฝนชะ แล้วมีผลต่อการเจริญของพืชอีกชนิดที่อยู่ในดินนั้น รวมทั้งสารพิษที่จุลินทรีย์สร้างระหว่างการย่อยสลายเศษซากพืชด้วย
2.ระดับทุติยภูมิ เกิดจากการที่พืชสร้างและปลดปล่อยสารพิษออกมาขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ ไม่รุนแรงเท่ากับสารพิษจากเศษซากพืช ผลกระทบที่เห็นชัดเจน เช่น การปล่อยสารพิษจากต้น Juglans nigra และต้นเบญจมาศ]

ยาพื้นบ้าน

แห้วหมูมีคุณสมบัติเป็นสมุนไพร ซึ่งหัวมีรสเผ็ดขมเล็กน้อย ใช้ขับลม ส่วนสารสกัดจากรากมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ
เป็นยารักษาไข้เลือดออกเบื้องต้น โดยตำให้ละเอียดผสมเหล้าขาว 35 หรือ 40 ดีกรี 1 ขวด แช่ประมาณครึ่งชั่วโมง กรองเอาเฉพาะเหล้าดื่ม 1 แก้ว เพื่อขับพิษไข้ให้อาเจียนออกจนหมด หากไข้ยังสูงอยู่ดื่มได้อีก 1 แก้ว จากนั้นพาผู้ป่วยไปพบแพทย์
ตำรับยาอายุรเวทของอินเดีย ใช้แก้ไข้ ความผิดปกติในทางเดินอาหาร
ชาวอาหรับในบริเวณเลอวานต์นำหัวไปอบให้ร้อน ใช้ประคบบริเวณที่บวม
ตำรายาจีนเรียกเซียงฟู่ (ภาษาจีนกลาง) หรือเฮียวหู้ (ภาษาจีนแต้จิ๋ว) รากใช้เป็นยาแก้ปวด แก้อักเสบ

ตำรับยาไทย สรรพคุณ บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ บำรุงหัวใจ ลดความดัน ลดความอ้วน บำรุงครรภ์ แก้ธาตุพิการ ช่วยเจริญอาหาร ขับพยาธิ ขับลม ช่วยย่อยอาหาร แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ปัสสาวะขัด แก้ไข้ ขับเหงื่อ แก้บิด แก้กระษัย แก้คลื่นเหียน อาเจียน ช่วยระงับอาการหอบหืด และเป็นยาอายุวัฒนะ

ปัจจุบันมีการนำหญ้าแห้วหมูไปเข้าตำรับยาแก้ปวด แก้โรคกระเพาะ แก้ปวดประจำเดือน และเป็นหนึ่งในสมุนไพรที่มีการวิจัยพบว่า มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง

อีกทั้ง ยังเป็นสมุนไพรที่มีน้ำมันหอมระเหยเป็นส่วนประกอบ มีฤทธิ์ช่วยลดความเจ็บ ช่วยผ่อนคลายอาการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดฝีเจ็บคอและอาการท้องเสีย

ล่าสุด เมื่อเร็วๆนี้ สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ทำการวิจัยพบว่า หญ้าแห้วหมูมีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน และมีฤทธิ์ปกป้องสมอง

แพทย์แผนใหม่

ใช้แห้วหมูเป็นยานานาชาติ รักษาอาการคลื่นเหียน อาการอักเสบ ลดความเจ็บ ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ มีสารที่มีฤทธิ์ทางเภสัชศาสตร์หลายชนิดเช่น: α-cyperone β-selinene cyperene cyperotundone patchoulenone sugeonol kobusone และ isokobusone สารสกัดจากหัวที่สกัดด้วยเอทานอล มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์แซนธีน- ออกซิเดส

อาหาร
แม้ว่าหัวจะมีรสขมแต่ก็มีคุณค่าทางอาหาร ในทวีปแอฟริกาใช้เป็นอาหารเวลาขาดแคลน และเป็นอาหารนกในเวลาอพยพ

ขอขอบคุณ วิกีพีเดีย
https://www.google.com/..4%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%…

งา และวิธีการปลูก

2 comments

Reading your article helped me a lot and I agree with you. But I still have some doubts, can you clarify for me? I’ll keep an eye out for your answers.

Thank you very much for sharing, I learned a lot from your article. Very cool. Thanks. nimabi