เลี้ยงสัตว์ » รู้จักกับโรคบรูเซลโลซิสในแพะ-วัว-ควาย(แท้งติดต่อ) +1

รู้จักกับโรคบรูเซลโลซิสในแพะ-วัว-ควาย(แท้งติดต่อ) +1

9 มีนาคม 2018
3106   0

 

 

https://goo.gl/wFxTeK

http://www.108kaset.com/goat/index.php/topic,187.0.html

 

บรูเซลโลซิสเป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คนที่พบได้ทั่วโลก มีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรีย Brucella spp. จะทำให้สัตว์แท้งลูกจึงเรียกชื่อโรคนี้ในสัตว์ว่า “โรคแท้งติดต่อ”

โรคนี้มีชื่อเรียกหลายชื่อซึ่งตั้งตามสถานที่พบโรคและอาการเช่น Mediterranean fever, Rock fever, Malta fever, Undulant fever ซึ่งทำให้เกิดอาการรุนแรงได้ทั้งในสัตว์และคน โดยจะติดต่อแพร่กระจายในฝูงสัตว์และติดต่อมาสู่คน และมีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและสาธารณสุขอย่างกว้างขวาง นอกจากนั้นยังถูกจัดอยู่ในกลุ่มเชื้ออันตรายร้ายแรงระดับBiosafety level III (BSL3) และอาวุธชีวภาพกลุ่ม B

ประชากรกลุ่มเสี่ยงเป็นผู้มีอาชีพที่สัมผัสกับสัตว์ป่วย เช่น สัตว์แพทย์ สัตวบาล คนเลี้ยงสัตว์ ทำงานในฟาร์มสัตว์ประเภท แพะ แกะ โค และ กระบือ นอกจากนั้นผู้บริโภคอาหารประเภทนมที่ไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้ออย่างถูกวิธี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เนย นม จาก แพะและแกะ ..

โรคบรูเซลโลซิสในคนพบได้ทั้งอาการเฉียบพลันและเรื้อรัง ผู้ป่วยจะมีไข้สูง เป็นระยะๆ ปวดศีรษะรุนแรง ปวดข้อ ในรายที่มีอาการแทรกซ้อนรุนแรงมีการติดเชื้อที่อวัยวะภายในจะมีอันตรายถึงเสียชีวิต มีอัตราตายร้อยละ 2-5 ปัจจุบันในประเทศไทยมีรายงานโรคบรูเซลโลซิสเพิ่มมากขึ้น และพบในกลุ่มผู้เลี้ยงแพะ แกะ ประปรายทั่วทุกภาค..

อาการ
ผู้ป่วยโรคบรูเซลโลซิสจะมีอาการแสดงได้ทั้งอาการไข้เฉียบพลันและเรื้อรัง และอาการแทรกซ้อนรุนแรง การติดเชื้อเฉียบพลันพบได้ประมาณร้อยละ 50 ซึ่งมักมีระยะฝักตัวประมาณ 1 สัปดาห์ถึง 2 เดือน (ส่วนใหญ่ประมาณ 2-3 สัปดาห์ )ในกรณีติดเชื้อเรื้อรังมักมีอาการภายหลังได้รับเชื้อบรูเซลลามากกว่าหนึ่งเดือน ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการไม่จำเพาะ มีการติดเชื้อในกระแสเลือดและกระจายไปตามอวัยวะภายใน มากกว่า 90% ไข้สูงเฉียบพลัน ปวดศีรษะรุนแรง (50-80%) ปวดข้อ (40-50%) ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ (40-70%) มีเหงื่อออกมาก (40-90%) คลื่นไส้เบื่ออาหาร (80-90%) อ่อนเพลีย (80-95%) มักก่อโรคกับระบบสืบพันธุ์ อันฑะบวม ต่อมลูกหมากอักเสบ มดลูกอักเสบ อาจทำให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบและเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบซึ่งส่วนใหญ่จะเสียชีวิต ในกรณีติดเชื้อเรื้อรังมักจะมีอาการไขข้ออักเสบ น้ำหนักลด ผอมซีด อ่อนเพลีย อาจคล้ายวัณโรคมีฝีหนองในตับ ม้ามและกระดูก ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะหายภายใน 3-12 เดือน อาจพบมีไข้กลับมาภายหลังการรักษาหายแล้วหลายเดือน

เชื้อก่อโรค
เชื้อบรูเซลลา เป็นแบคทีเรียชนิดแกรมลบ ไม่สร้างสปอร์ ไม่เคลื่อนที่ ไม่มีแคปซูลและแฟลกเจลลา เชื้อเจริญเติบโตในเซลล์ (Gram-negative coccobacilli; non-spore-forming and non-motile; aerobic, intracellular bacteria) ขนาด 0.6-1.5×0.5-0.7 ไมโครเมตร การแบ่งตัวเพิ่มจำนวนค่อนข้างช้า เชื้อเจริญได้ดีที่ 37 องศาเซลเซียส จะเห็นโคโลนีบนอาหารแข็งเมื่อเพาะเชื้อนาน 2-3 วัน

เชื้อบรูเซลลาเมื่อเข้าสู่ร่างกายจะเข้าสู่กระแสเลือด และระบบน้ำเหลือง สามารถมีชีวิตและแบ่งตัวเพิ่มจำนวนในเม็ดเลือดขาวได้ และ แพร่กระจายไปอวัยวะต่างๆทั่วร่างกาย ทำให้เกิดพยาธิสภาพที่ม้าม ตับ ต่อมน้ำเหลือง ไขกระดูก และระบบสืบพันธุ์

เชี้อบรูเซลลาแต่ละสปีชีส์มักก่อโรคจำเพาะในสัตว์บางชนิด เช่น B. abortus มักก่อโรคในโค กระบือ B. melitensis พบก่อโรคในแพะ แกะ B. suis ก่อโรคในสุกรและ B. canis มักก่อโรคในสุนัข เชื้อบรูเซลลาทั้ง 4 สปีชีส์นี้ติดต่อมาสู่คนได้ เชื้อ B. melitensis มีความรุนแรงสูงสุดสามารถก่อโรคในคนและสัตว์ได้แม้ได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกายเพียง 10 เซลล์

เชี้อบรูเซลลาจะมีชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมได้นานเป็นเดือน แต่จะถูกทำลายได้ง่ายด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อทั่วไป และ ความร้อน

ระบาดวิทยา
โรคบรูเซลโลซิสพบได้ทั่วโลก พบมากแถบเมดิเตอร์เรเนียน ในคนทำงานในฟาร์ม แพะ แกะ และ อูฐ โรคนี้ติดต่อกันง่ายจากสัตว์ 1 ตัว ไปสู่สัตว์ตัวอื่นๆ ในฟาร์มมาสู่คน มีรายงานทางระบาดวิทยา 90% ของโรคบรูเซลโลซิสในคนติดต่อจากสัตว์ติดเชื้อในปศุสัตว์โดยตรงและการบริโภคนมหรือผลิตภัณฑ์นมที่ปนเปื้อนเชื้อ ในประเทศตะวันออกกลางโรคบรูเซลโลซิสนี้เป็นที่รู้จักกันมานานแล้วทั้งในสัตว์และคน อุบัติการณ์ของโรคบรูเซลโลซิสในคนจะสัมพันธ์โดยตรงกับความชุกของการติดเชื้อของ แพะ แกะ และสัตว์อื่นๆ

เชื้อที่พบในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็น B. melitensis และ B. abortus สำหรับ B. melitensis จะก่อโรคในคนรุนแรงที่สุด อาจทำให้เกิดการติดเชื้อร้ายแรงและพิการได้ ตั้งแต่พ.ศ. 2546 พบการระบาดในแพะและแกะที่จังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี ยะลา จันทบุรี ชัยนาท สระบุรี สระแก้ว เพชรบูรณ์ และ เลย

โรคที่แพร่เชื้อมาสู่คนที่สำคัญเป็นสัตว์เลี้ยงสำหรับผลิตอาหาร เช่น โค กระบือ แพะ แกะ สุกร กวาง นอกจากนั้นอาจพบการติดเชื้อใน อูฐ สุนัข ม้า สัตว์ป่าและ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆ เช่น แมวน้ำ วาฬ ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบอาชีพเลี้ยงสัตว์เหล่านี้มีโอกาสติดเชื้อจากสัตว์ได้สูง


ขอบคุณภาพจาก https://kasamsan.wordpress.com/

การติดต่อมาสู่คน

การหายใจ การติดต่อจากสัตว์สู่สัตว์ และสัตว์สู่คนด้วยการอยู่ใกล้ชิดสัตว์เป็นโรค โดยสูดเอาละอองเชื้อที่ปนเปื้อนอยู่ในสิ่งแวดล้อม สารคัดหลั่งของสัตว์ติดเชื้อ

ทางการสัมผัสโดยตรง มักพบในคนงานเลี้ยงสัตว์ที่ทำคลอดสัตว์เป็นโรคโดยไม่ได้สวมถุงมือยางป้องกัน เชื้อจะเข้าทางผิวหนังและเยื่อเมือกที่มีรอยถลอกหรือแผล โดยเชื้อจะออกมากับสารคัดหลั่งจากช่องคลอด ปัสสาวะ เลือด เนื้อเยื่อ ลูกสัตว์ที่แท้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งรกของสัตว์ติดเชื้อ

การบริโภคอาหารปนเปื้อนเชื้อบรูเซลลา ได้แก่ นม เนยที่ไม่ได้ผ่านการพาสเจอร์ไรซ์ หรือบริโภครกสัตว์โดยไม่ปรุงให้สุก
คนติดต่อสู่คนค่อนข้างยาก อาจติดต่อจากการให้ลูกดื่มนมของแม่ที่ป่วยเป็นโรคขณะยังไม่มีอาการ การบริจาคโลหิต การเปลี่ยนถ่ายไขกระดูก

การติดเชื้อในห้องปฏิบัติการ ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการเตรียมตัวอย่างผู้ป่วย การเพาะเชื้อมีโอกาสติดเชื้อค่อนข้างสูง ควรสวมเครื่องป้องกันและปฏิบัติการวิเคราะห์ใน safety carbinet

การควบคุมป้องกัน
ให้การศึกษาเรื่องการติดต่อและวิธีป้องกันแก่ประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มเสี่ยง
หลีกเลี่ยงการบริโภคนมและผลิตภัณฑ์ของนมที่ไม่ผ่านการพาสเจอไรซ์
ผู้ทำงานในฟาร์มต้องรู้วิธีป้องกันและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด โดยสวมเครื่องป้องกันขณะทำคลอดสัตว์ สวมถุงมือ ผ้ากันเปื้อน ผ้าปิดปาก มีสุขอนามัยที่ดีและรักษาความสะอาด
มีการตรวจโรคและให้วัคซีนป้องกันโรคบรูเซลโลซิสในฝูงสัตว์
ผู้เกี่ยวข้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคอย่างเคร่งครัด
ผู้ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ

ข้อควรปฏิบัติในเรื่องอาหารปลอดภัย
การรักษาความสะอาด และสุขอนามัย

ล้างมือก่อนการเตรียมอาหาร และระหว่างเตรียมอาหาร ล้างมือให้สะอาดหลังเข้าส้วม
ล้างและทำความสะอาดอุปกรณ์เครื่องครัว และบริเวณปรุงอาหาร
ปิดห้องครัว และอาหารให้มิดชิดเพื่อป้องกันแมลง สัตว์เลี้ยง และสัตว์อื่นๆ
แยกอาหารปรุงสุกออกจากอาหารดิบ เนื้อสัตว์
แยกและจัดเก็บอาหารปรุงสุกออกจากอาหารดิบ
แยกภาชนะหรือเครื่องครัวระหว่างเนื้อสัตว์จากอาหารประเภทอื่นเช่น มีด เขียง
การประกอบอาหารประเภทเนื้อโค สุกร เป็ดไก่ ต้องใช้ความร้อนมากกว่า 70 องศาเซลเซียส ปรุงให้สุก
การเก็บอาหารที่อุณหภูมิห้องไม่ควรเกิน 2 ชั่วโมง ควรเก็บที่อุณหภูมิต่ำกว่า 5 องศาเซลเซียส
อุ่นอาหาร ก่อนรับประทาน

การเลือกใช้น้ำและอาหารดิบก่อนปรุง
ใช้น้ำสะอาดที่มั่นใจว่าปลอดภัย และ เลือกใช้วัตถุดิบที่สด สะอาด ปลอดภัย
ขบวนการผลิตถูกสุขลักษณะเช่น นม เนย โยเกริต ควรผ่านการพาสเจอร์ไรซ์
ล้างผัก ผลไม้ ให้สะอาด หากต้องการบริโภคสดๆ โดยไม่ปรุงสุก
ไม่บริโภคอาหาร และผลิตภัณฑ์อาหารที่หมดอายุ


ขอบคุณภาพจาก https://dailymed.nlm.nih.gov

การรักษา
การรักษาโดยยาปฏิชีวนะในผู้ใหญ่ และเด็กอายุเกิน 8 ขวบ มักใช้ doxycycline วันละ 200 mg นาน 6 สัปดาห์ ร่วมกับ streptomycin 1g ติดต่อกัน 2-3 สัปดาห์. หรือ ร่วมกับ rifampicin 600-900ต่อวัน

ตัวอย่าง ใบรับรองฟาร์มที่ผ่านการตรวจเลือดปลอดเชื้อbrucellocis แล้วจากกรมปศุสัตว์

เอกสารอ้างอิง

Maloney GE, Jr. CBRNE – Brucellosis. E-medicine. September 2004. http://www.emedicine.com/emerg/topic883.htm
SENTINEL LABORATORY GUIDELINES FOR SUSPECTED AGENTS OF BIOTERRORISM : Brucella species. American Society for Microbiology. http://www.asm.org
Public Health Agency of Canada. Infectious substances: Brucella spp. Office of Laboratory Security. Material Safety Data Sheet. November 1999. http://www.phac-aspc.gc.ca/msds-ftss/msds23e.html
World Heath Organization. Brucellosis. Media centre. Fact Sheet No. 173. July 1997. http://www.who.int/inf-fs/en/fact173.html
Public Health Agency of Canada. Notifiable Diseases On-line – Brucellosis. December 2003. http://dsol-smed.hc-sc.gc.ca/dsol-smed/ndis/index_e.html
Brucellosis in Humans and Animals. WHO/CDS/EPR. http://www.whqlibdoc.who.int/hq/2007/WHO_CDS_EPR_
Alton GG, Forsyth JRL. Brucella in Medical Microbiology 4th edition. The University of Texas Medical Branch at Galveston 1996. http://www.gsbs.utmb.edu/microbook/ch028.htm
Mantur BG, Amarnath SK, Shinde RS. Review of clinical and laboratory features of human Brucellosis. Indian Journal of Medical Microbiology 2007; 25 : 188-222.
วิมล เพชรกาญจนาพงศ์*, ปิยะดา หวังรุ่งทรัพย์, ธีรยุทธ สุขมี, ชนิดา รุจิศรีสาโรช โรคบรูเซลโลซิส และการตรวจทางซีโรโลยี การประชุมวิชาการสมาคมเทคนิคการแพทย์ 2549
ขอบคุณ http://webdb.dmsc.moph.go.th/ifc_nih/a_nih_1_001c.asp?info_id=1214

355 comments

car insurance quotesI loved as much as you’ll receive carried out right here. The sketch is attractive,

automobile insuranceI think that you could do with some pics to drive the message home a little bit,

automobile insuranceI think that you could do with some pics to drive the message home a little bit,