เตือนภัย » คลิป..สารปรอทในเครื่องสำอาง ทำให้ลูกปัญญาอ่อนได้

คลิป..สารปรอทในเครื่องสำอาง ทำให้ลูกปัญญาอ่อนได้

27 เมษายน 2018
2548   0

 

http://bit.ly/2r3rOYw

 

คลิป..สารปรอทในเครื่องสำอาง ทำให้ลูกปัญญาอ่อนได้

ปรอท นิยมใส่ในเครื่องสำอาง เพื่อเร่งผิวหน้าขาวเร็วขี้น  ..วิธีสังเกตสีของเครื่องสำอางที่ผสมสารปรอท(ในคลิป)

.

สารปรอท (Mercury)

ปรอท (Mercury) เป็นโลหะหนักชนิดหนึ่งอยู่ในกลุ่มธาตุทรานซิซัน สัญลักษณ์ของธาตุคือ Hg มีมวลอะตอม 200.589 กรัมต่อโมล จุดหลอมเหลว -38.83°C จุดเดือด 356.73°C ความหนาแน่น 13.53 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร ซึ่งเป็นค่าที่สูงมากเมื่อเทียบกับน้ำที่มีความหนาแน่นเท่ากับ 1 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตรและด้วยความหนาแน่นที่มากสามารถทำให้ตะกั่วและเหล็กลอยอยู่ได้เมื่อใส่ลงไปในปรอท ลักษณะทางกายภาพเป็นของเหลวสีเงินและสามารถระเหยกลายเป็นไอได้ที่อุณหภูมิปกติ..

และถึงแม้ปรอทจะเป็นโลหะ แต่ก็ไม่ดึงดูดกับแม่เหล็ก เราสามารถนำปรอทมาใช้ในอุตสาหกรรมหลายๆ ประเภท ได้แก่ อุตสาหกรรมเครื่องวัดอุณหภูมิและความดัน การย้อมสี การผลิตเยื่อกระดาษ พลาสติก เภสัชภัณฑ์ อุปกรณ์ในการถ่ายรูป อุปกรณ์ไฟฟ้า สารฆ่าแมลงและยาฆ่าเชื้อ 

..นอกจากนี้ ปรอทมีจุดเดือดไม่สูงนัก จึงได้มีการทดลองนำ เมอคิวริคออกไซด์ มาผลิตเป็นออกซิเจนบริสุทธิ์อีกด้วย  ปรอทมักจะใช้ในการผลิตเคมีทางอุตสาหกรรม หรือในการประยุกต์ทางไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ปรอทใช้ในเทอร์โมมิเตอร์บางชนิด โดยเฉพาะที่ใช้วัดอุณหภูมิสูง

 

อันตรายยังไง

ผิว บริเวณที่ทาอาจคัน ระคายเคืองหรือเกิดการไหม้ แต่สารปรอทไม่ได้ทำอันตรายกับผิวบริเวณที่ทาเท่านั้น ยังมีโอกาสที่จะซึมเข้าสู่กระแสเลือด

จะทำลายระบบประสาทส่วนกลาง ทั้งสมองและไขสันหลัง ทำให้เสียการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย และเสียการรับรู้ เช่น การมองเห็น การได้ยิน

การทำลายอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายที่เกิดจากปรอท เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ไม่สามารถรักษาหรือทำให้กลับมาดีเหมือนเดิมได้

ถ้ามารดาที่ตั้งครรภ์ได้รับสารปรอท ปรอทจะดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย และไปสู่ทารก ทำให้เด็กมีสมองพิการและปัญญาอ่อน

ถ้าทาครีมที่มีส่วนผสมของสารปรอทเป็นเวลานาน ผิวจะบาง แดง แพ้ เกิดผื่นระคายเคือง เล็บที่สัมผัสกับครีมจะบางลง

ผลกระทบจากการใช้

อาจก่อให้เกิดอาการแพ้เกิดได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

ทำให้หน้าเห่อคันจนถึงพุพอง ..ส่วนในระยะยาวคือใช้ไปนานๆ จะเกิดการสะสมของสารปรอทอยู่ใต้ผิวทำให้ผิวคล้ำลง จนหน้ากลายเป็นสีปรอทกล่าวคือมีสีดำอมเทาพอถึงระยะนี้สารปรอทก็หมดฤทธิ์ในการฟอกสีกลายเป็นทำให้ผิวดำกว่าเดิม

 

การป้องกันอันตรายจากปรอท

  • ใช้สารอื่นที่เป็นพิษน้อยกว่าแทนสารปรอท เช่น ใช้สารแอมโมเนียของเงินแทนสารประกอบของปรอท
  • ในกรณีที่มีการรั่วของปรอทให้นำภาชนะที่มีน้ำมารองรับเพื่อป้องกันการระเหยของปรอท
  • สวมเสื้อคลุมและถุงมือ เมื่อต้องจับหรือสัมผัสปรอท
  • ระบายอากาศในบริเวณที่ต้องใช้ปรอทเพื่อดูดเอาไอของปรอทที่กระจาย อยู่ในบรรยากาศออกไปและทำการกักเก็บมิให้ฟุ้งกระจายไปยังที่อื่น เพื่อให้อากาศในบริเวณพื้นที่ใช้งานบริสุทธิ์ หรือควรมีการกำจัดปรอทอินทรีย์จากโรงงานอุตสาหกรรมที่ถูกต้อง
  • ตรวจสอบหาปริมาณของปรอทในบรรยากาศบริเวณใช้งานให้อยู่ในมาตรฐานที่ควบคุมอยู่เสมอ
  • สารปรอทและสารประกอบของปรอทควรเก็บในภาชนะที่ปิดสนิทเพื่อป้องกันการระเหยของปรอท

การเข้าสู่ร่างกาย

1. ทางจมูก โดยสูดเอาผง หรือไอปรอทเข้าสู่ปอด เนื่องจากปรอทสามารถระเหยกลายเป็นไอได้ง่าย       

2. ทางปาก โดยการรับประทานเข้าไป มักเกิดจากอุบัติเหตุปะปนกับอาหารหรือน้ำดื่ม       

3. ทางผิวหนัง โดยการดูดซึม ไอระเหยหรือฝุ่นละอองของปรอททำให้ผิวหนังระคายเคืองเกิดโรคผิวหนังได้

..

พิษจากสารปรอท เหตุการณ์ที่โด่งดังเป็นข่าวไปทั่วโลกจากพิษของปรอทคือโรคมินามิตะ   ที่เกิดขึ้นที่ประเทศญี่ปุ่นในปี ค.ศ. 1956   เมื่อน้ำเสียที่ปล่อยออกจากโรงงานอุตสาหกรรมไหลลงสู่อ่าวมินามิตะมีการปนเปื้อนสารปรอทที่ชื่อว่า   เมทิลเมอร์คิวรี่ (Methylmercury) ส่งผลให้คนที่บริโภคปลาที่มีการปนเปื้อนสารปรอทต้องเสียชีวิตมากว่า   100 คนและต้องทนทุกข์ทรมานจากพิษของสารปรอทอีกหลายพันคน   โดยจากการเก็บตัวอย่างน้ำไปตรวจสอบพบว่ามีค่าความเข้มข้นของสารปรอทสูงกว่า 600 ppm ..

อาการเบื้องต้นคือผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมการทรงตัวได้   ชาตามแขนขา แขนขาบิดเบี้ยวคล้ายคนพิการ   และนอกจากนี้สารปรอทสามารถถ่ายทอดจากมารดาสู่บุตรได้   ทำให้เด็กที่เกิดมามีอาการพิการทางสมองได้อีกด้วย

เหตุการณ์ครั้งนี้ถือเป็นโศกนาฎกรรมครั้งยิ่งใหญ่ของประเทศญี่ปุ่น   ที่แสดงให้เห็นว่าการพัฒนาประเทศไม่ควรมุ่งเน้นด้านอุตสาหกรรมเพียงอย่างเดียวแต่ควรพัฒนาสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปด้วย

 

ผลของสารปรอท

-ผิวไหม้

-ดูดซึมเข้าร่างกาย ทำลายสมอง และประสาทไขสันหลัง

-ทำลายการรับรู้

-ทำลายการมองเห็น

-ทำให้เด็กที่คลอดออกมาไม่สมบูรณ์ อาจถึงขั้นปัญญาอ่อนได้ ฯ

 

พิษของปรอท

ปรอทจะทำอันตรายต่อร่างกายมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับเหตุการณ์และปัจจัยดังนี้       

1. ทางที่พิษเข้าสู่ร่างกาย เช่น ทางผิวหนัง ทางระบบหายใจ หรือทางระบบย่อยอาหาร       

2. ปริมาณที่ได้รับเข้าสู่ร่างกาย       

3. ชนิดของสารปรอทที่ได้รับเข้าสู่ร่างกายและอวัยวะส่วนใดของร่างกายที่ได้รับ พิษของปรอทในรูปเมทธิลหรืออัลคิล เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่มีพิษมากที่สุด

 

อาการพิษเกิดจากปรอท

มีทั้งชนิดเฉียบพลันและเรื้อรัง พิษชนิดเฉียบพลันมักเกิดจากอุบัติเหตุโดยการกลืนกินสารปรอทเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งปริมาณปกติที่ได้รับเข้าสู่ร่างกายและทำให้คนตายได้ โดยเฉลี่ยประมาณ 0.02 กรัม อาการที่เกิดจากการกลืนกินปรอท คือ       

  • อาเจียน ปากพอง แดงไหม้ อักเสบและเนื้อเยื่ออาจหลุดออกมาเป็นชิ้นๆ         
  • เลือดออก ปวดท้องอย่างแรง เนื่องจากปรอทกัดระบบทางเดินอาหาร         
  • มีอาการท้องร่วงอย่างแรง อุจจาระเป็นเลือด         
  • เป็นลม สลบเนื่องจากร่างกายเสียเลือดมาก         
  • เมื่อเข้าสู่ระบบหมุนเวียนโลหิต ปรอทจะไปทำลายไต ทำให้ปัสสาวะไม่ออกหรือปัสสาวะเป็นเลือด         
  • ตายในที่สุด

พิษชนิดเรื้อรัง

ปรอท เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะไปทำอันตรายต่อระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งได้แก่ สมอง และไขสันหลัง ทำให้เสียการควบคุมเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของแขน ขา การพูด และยังทำให้ระบบประสาทรับความรู้สึกเสียไป เช่น การได้ยิน การมองเห็น ซึ่งอันตรายเหล่านี้ เมื่อเป็นแล้วไม่สามารถรักษาให้กลับดีดังเดิมได้ อาการที่เป็นพิษมากเกิดจากการหายใจ, ปอดอักเสบ, มีอาการเจ็บหน้าอก, มีไข้, แน่นหน้าอก, หายใจไม่ออกและตายได้

 

วิธีการตรวจสอบเบื้องต้น 

เอาครีมทาผิวแถวท้องแขน แล้วเอาพลาสเตอร์ปิดแผลปิดทับไว้ แล้วก็เอาอีกอันแปะผิวใกล้ๆกัน

ทิ้งไว้12ชั่วโมง แกะออก ถ้าผิวที่ทาครีมมันขาวซีดกว่าตรงที่ไม่ได้ทาครีมก็แสดงว่ามีส่วนผสมของสารปรอท

ที่ เราให้แปะไว้ 2 อันก็เพื่อเปรียบเทียบกัน ทั้งนี้การทดสอบด้วยวิธีนี้ ไม่สามารถสรุปผลได้ 100% ว่าครีมมีส่วนผสมของสารปรอทหรือไม่ หากต้องการผลแน่นอน 100% ควรใช้ชุดตรวจจากกรมวิทยาศาสตร์.